นักวิจัยเยอรมันพบว่าถ้าตาขวาของนกถูกปกคลุมด้วยน้ำแข็งนกจะไม่สามารถนำทางได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เป็นที่รู้กันนานมาแล้วว่านกสามารถสัมผัสถึงสนามแม่เหล็กและใช้ให้นำทางโดยเฉพาะการอพยพหนีฤดูหนาว ขณะนี้นักวิจัยได้พบว่านกมองเห็นสนามแม่เหล็กด้วยตาขวาของพวกมันส่วนด้านซ้ายให้ข้อมูลกับสมอง นกจะเห็นภาพภาพสนามแม่เหล็กจะเป็นสีขาวดำ
นกใช้การเปลี่ยนแปลงลักษณะของแสงเงาในการบอกทิศทาง
นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่านกมีโมเลกุลในจอตาที่สามารถเปลี่ยนสู่สภาพที่ใช้งานได้เมื่อมันได้รับแสงสีน้ำเงิน
การมองเห็นสนามแม่เหล็กจะมีผลเวลาที่ใช้สำหรับย้อนกลับไปยังสถานะเดิมเมื่อพวกมันได้รับแสงสีน้ำเงิน ทั้งภาพและภาพสนามแม่เหล็กเกี่ยวข้องกับรูปแบบของแสงและสี แต่ภาพที่เห็นมักจะมีเส้นขอบคมและในขณะที่ภาพสนามแม่เหล็กมีการเปลี่ยนแปลงที่ขึ้นกับแสงและเงา
นักวิจัยนำโดย แคทริน สตัพพุท (Katrin Stapput) จากมหาวิทยาลัย แฟรงค์เฟิร์ต (Universitat Frankfurt) ในเยอรมนีพบว่า การมองเห็นสนามแม่เหล็กถูกบิดเบือนในด้านรูปแบบของแสงและสีทำให้เห็นไม่ชัดเจนเพราะนกไม่สามารถแยกข้อมูลจากภาพที่เห็นและภาพสนามแม่เหล็ก
สตัพพุท ตัดสินใจที่จะทดสอบทฤษฎีโดยใช้นกขนาดเล็ก (Robins) สวมแว่นตาที่ถูกปกคลุมด้วยฟอยล์ชัดเจนในด้านหนึ่งและปกคลุมด้วยน้ำค้างแข็งอีกข้างหนึ่ง
ผลการวิจัยพบว่า นกที่ไม่มีสวมแว่นตาและนกที่ตาซ้ายสวมแว่นตาบินไปในทิศทางเหนือตามคาดในขณะที่นกที่ตาขวาสวมแว่นตาบินอย่างไร้ทิศทาง
ข่าวจาก Mailonline