ตุ่นหลายชนิดมีเลือดพิเศษที่มีวิวัฒนาการที่ช่วยให้มันอยู่ในอุโมงค์สุญญากาศใต้ดินได้
นักวิทยาศาสตร์พบว่ามีการดัดแปลงพันธุกรรมเพื่อนำคาร์บอนไดออกไซด์กลับมาใช้ใหม่
โปรตีนฮีโมโกลบินในเซลล์เม็ดเลือดแดงที่นำออกซิเจนไปทั่วร่างกายและนำก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ปอด
ตุ่นตะวันออกจะปรับปรุงคาร์บอนไดออกไซด์มากกว่าปกติ ทำให้มันอยู่ใต้พื้นที่ปิดได้
ดร.เควิน แคมเบล จากมหาวิทยาลัยมานิโทบา(Dr Kevin Campbell, University of Manitoba) ในแคนาดากล่าวว่า “ตุ่นอาศัยอยู่ในสภาพออกซิเจนต่ำและคาร์บอนไดออกไซด์สูงเป็นประจำ การทำโพรงนั้นยากสำหรับมัน แต่ที่ท้าทายมากขึ้นคือการใช้ลมหายใจออก มาใช้หายใจอีกครั้ง เราพบว่า ตุ่นตะวันออกจะปรับการใช้ชีวิตใต้ดินไปเรื่อยๆเนื่องจากวิวัฒนาการของเม็ดเลือดแดงชนิดพิเศษในเลือดที่มีความสามารถในการปรับปรุงคาร์บอนไดออกไซด์”
การวิจัยนี้ได้เผยแพร่ในวารสารออนไลน์ วิวัฒนาการชีววิทยา
ดร. รอย เวเบอ จากมหาวิทยาลัยอาร์ฮัส (Dr. Roy Weber, University of Aarhus) ในเดนมาร์ก กล่าวว่า “มันน่าสนใจที่จะเปรียบเทียบโปรตีนฮีโมโกลบินของสัตว์ทำโพรงสายพันธ์อื่นๆซึ่งอาจนำไปสู่การพัฒนาเลือดมนุษย์เทียมที่มีคุณสมบัติพิเศษทางวิศวกรรม”
ข่าวจาก Mailonline