ศ.แอนดรู ออสวอลด์ จากมหาวิทยาลัยวอร์วิค กล่าวว่า มีหลักฐานที่สามารถระบุได้ว่าสุขภาพจิตของประชาชนในหลายประเทศในยุโรปแย่ลง
ศ.ออสวอลด์กล่าวว่า การวางนโยบายโดยมุ่งเน้นไปที่ความเจริญด้านวัตถุนั้นเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง และจะไม่มีความหมายใด ๆ เลยตราบใดที่ผู้คนยังคงเกิดภาวะเศร้าซึมเพิ่มขึ้น และรู้สึกกดดันเกี่ยวกับชีวิตที่ร่ำรวยขึ้นของพวกเขา
“รถยนต์หรูหรา ห้องอาบน้ำราคาแพง มีให้เห็นทั่วทุกมุมในสังคมตะวันตก แต่ข้อมูลที่เราได้รับพบว่า มันไม่ได้ทำให้ประชาชนมีสุขภาพจิตที่ดีขึ้นเลย” นักวิจัยกล่าว
“งานวิจัยนี้ยังพบว่าเด็ก ๆ ชาวสก๊อตแลนด์ซึ่งมี อายุ 15 ปี มีความวิตกกังวล และมีภาวะซึมเศร้ามากขึ้นกว่าเด็กในยุด 1990 และเด็กเหล่านี้ยังมีความทุกข์มากกว่าเด็กอายุ 15 ปีที่อยู่ในช่วง 1980 อีกด้วย” ศ.ออสวอลด์กล่าวเสริม
จากการสำรวจสุขภาพจิตของกลุ่มตัวอย่างในประเทศอังกฤษ เนเธอร์แลนด์ และเบลเยี่ยม พบว่าในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาอัตราการย่ำแย่ลงของสุขภาพจิตของประชากรเพิ่มขึ้นในอย่างต่อเนื่อง นอกจากนั้นนักวิจัยยังพบว่า emotional prosperity ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าเป็น ความเจริญทางจิตใจ นั้นมีอัตราลดลง
โดยเฉลี่ยแล้วประชากรอังกฤษราว 15% จะมีปัญหาด้านสุขภาพจิตอย่างน้อยหนึ่งประเภท นักวิจัยยังได้กล่าวแนะนำว่า รัฐควรหันมาส่งเสริมมาตราฐานของ ความเจริญทางจิตใจ (emotional prosperity) แทนการส่งเสริมความเจริญด้านวัตถุ
สุขภาพจิตที่ดีย่อมนำมาซึ่งสุขภาพกายที่แข็งแรงสมบูรณ์
ที่มา UPI.com