อ่าน: 155

สธ.จับมือมูลนิธิโรคหัวใจฯ ผ่าตัดรักษาฟรี

สาธารณสุข ร่วมมือกับมูลนิธิเด็กโรคหัวใจฯ จัดโครงการตรวจและผ่าตัดรักษาฟรี เด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาที่เป็นโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด นำร่องปีนี้ 15 จังหวัด โดยไทยพบเด็กพิการแต่กำเนิดเพิ่มปีละ 7,000-8,000 คน คาดว่าขณะนี้จะมีเด็กนักเรียนป.1-6 ป่วยเป็นโรคนี้โดยไม่รู้ตัวประมาณ 5,000-10,000 คน และเป็นสาเหตุการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรของเด็กไทย หากเด็กได้รับการรักษา ก็จะสามารถใช้ชีวิตเหมือนเด็กปกติ

เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2553 ที่ผ่านมา รัฐมนตรี ช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานในพิธีลงนามความร่วมมือ “โครงการคัดกรองโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดในนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6” ระหว่างศ.เกียรติคุณนายแพทย์บุญชอบ พงษ์พาณิชย์ ประธานคณะกรรมการมูลนิธิเด็กโรคหัวใจ ในพระอุปถัมภ์ของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์

ตาม บันทึกข้อตกลงความร่วมมือในครั้งนี้ มูลนิธิเด็กโรคหัวใจฯ จะอบรมพัฒนาศักยภาพพยาบาลวิชาชีพ หรือเจ้าพนักงานสาธารณสุขในสถานีอนามัยหรือโรงพยาบาลชุมชนทั่วประเทศ สามารถตรวจคัดกรองอาการของเด็กเบื้องต้น จากนั้นมูลนิธิเด็กโรคหัวใจฯ จะส่งให้คณะแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารแพทย์เวชศาสตร์โรคหัวใจ จากมหาวิทยาลัยนเรศวรไปตรวจวินิจฉัยยืนยันด้วยเครื่องตรวจการทำงานของหัวใจ (Echocardiogram) หากพบเด็กป่วยเป็นโรคหัวใจและจำเป็นต้องได้รับการรักษาด้วยวิธีผ่าตัด มูลนิธิเด็กโรคหัวใจฯจะเป็นผู้ประสานงานกับโรงพยาบาลที่เกี่ยวข้องเพื่อ ผ่าตัดรักษาฟรี โดยจะดำเนินการเป็นเวลา 5 ปีๆละ 15 จังหวัด เริ่มตั้งแต่ปี 2553 เป็นต้นไป ใช้งบประมาณปีละ 105 ล้านบาท ใน15 จังหวัดที่เข้าโครงการตรวจคัดกรองฯในปีนี้ได้แก่ นนทบุรี สิงห์บุรี สระบุรี ตราด นครปฐม ราชบุรี บุรีรัมย์ อุดรธานี อุบลราชธานี แม่ฮ่องสอน นครศรีธรรมราช สตูล ตรัง ชัยนาท และหนองบัวลำภู

โรค หัวใจพิการแต่กำเนิด เป็นโรคที่พบได้บ่อยและยังเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ ของไทย และเป็นสาเหตุการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร ผลสำรวจในปี 2547 พบเด็กนักเรียนประถมศึกษาเป็นโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดพันละ 1-3 คน คาดว่าในกลุ่มนักเรียนปี 1-6 ที่มี 4 ล้าน 5 แสนกว่าคนทั่วประเทศ จะมีเด็กเป็นโรคนี้ประมาณ 5,000-10,000 คน ที่ยังไม่ได้รับการรักษา โดยกว่าร้อยละ 60 ต้องได้รับการรักษาด้วยการผ่าตัด ซึ่งหลังผ่าตัดจะสามารถใช้ชีวิตได้อย่างปกติ

ทั้งนี้ ต่อปีประเทศไทยพบเด็กไทยเป็นโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดปีละประมาณ 7,000- 8,000 คน โดยพบได้ 8-10 คน ในเด็กทารกแรกเกิดทุก 1,000 คน กว่าร้อยละ 95 ยังไม่ทราบสาเหตุ อีกร้อยละ 5 เกิดจากแม่ติดเชื้อหัดเยอรมันระหว่างตั้งครรภ์ ในจำนวนนี้จะมีเด็กประมาณ 1 ใน 4 ที่มีอาการและตรวจพบตั้งแต่แรกเกิด คือเด็กจะมีน้ำหนักตัวน้อย หายใจหอบบ่อย ปลายมือปลายเท้าเขียวขณะร้องไห้ และส่วนใหญ่จะตรวจพบความผิดปกติเมื่ออายุ 2-3 เดือน โรคนี้รักษาได้โดยด้วยการผ่าตัดหรือใส่สายสวนหัวใจ

ที่มา กระทรวงสาธารณสุข

: กาย
:
: สุขภาพดี

Share |
อัมพวรรณ 19 ก.พ. 2553 19 ก.พ. 2553
ความคิดเห็น (0)
ไม่มีความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น
captcha
 
ยกเลิก หรือ

หมายเหตุ เว็บไซต์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาวะ ไม่ใช่คำแนะนำทางการแพทย์ หรือ ถาม-ตอบปัญหาสุขภาพ หากมีปัญหาสุขภาพโปรดปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญ

เพื่อนแนะนำ : เงินด่วน 30 นาทีถูกกฎหมาย, เราชนะรอบ 4, ยืมเงิน 3000 ด่วน, แอพผ่อนของ, กู้เงิน, สมัครบัตรเครดิต, สินเชื่อไม่เช็ค บูโรถูกกฎหมาย