กลัวต่อความกลัว ยิ่งจะส่งผลให้ความวิตกกังวลสูงขึ้น อันนำไปสู่ภาวะหดหู่ได้
“ผู้ที่มีความรู้สึกไวต่อความวิตกกังวล อาจเรียกได้ว่า กลัวความความกลัว กลุ่มคนเหล่านี้จะมีความกลัวความวิตกกังวลของตนเอง เนื่องจากเมื่อพวกเขาวิตกกังวล พวกเขาจะเกิดการเปลี่ยนแปลงบางอย่างขึ้น” อังเดร เวียนนา นักศึกษาระดับปริญาโท คณะจิตวิทยา จาก เพนน์ สเตท กล่าว
เวียนนาและเพื่อนได้ทำการวิเคราะห์แบบสำรวจ จากอาสาสมัครจำนวน 94 คน อายุเฉลี่ย 19 ปี ผู้ซึ่งมีระดับความวิตกกังวลสูง
พวกเขาพบว่า ภาวะหดหู่สามารถทำนายได้อย่างชัดเจนจากความวิตกกังวลที่เกิดขึ้น การกลัวว่าจะควบคุมตนเองไม่ได้ และ กลัวการจับตามมองของสังคม เป็นสาเหตุ 2 ประการที่สามารถทำนายภาวะหดหู่ ในขณะที่ การกลัวต่อภาวะโรคหัวใจ และกลัวเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ ไม่อาจใช้เพื่อทำนายภาวะหดหู่ได้
“เราพบว่า ภาวะความกลัวเกี่ยวกับการรับรู้ต่าง ๆ อาทิ สมาธิสั้น สามารถนำไปสู่ภาวะหดหู่ได้ และเรายังพบว่าผู้ที่อยู่ภาวะเหล่านี้ สามารถที่จะเชื่องโยงไปถึงการเข้าสังคมได้ หรือ อาการของโรควิตกกังวลอาจจะทำให้มองสังคมในแง่ลบได้นั่นเอง” เวียนนาอธิบาย
ที่มา health