ค้นหา Lab Tests

อ่าน: 788
Small_font Large_font

ทีไอบีซี : Total Iron Binding Capacity (TIBC)

ชื่อภาษาอังกฤษ

Total Iron Binding Capacity (TIBC)


ชื่อภาษาไทย

ทีไอบีซี


ชื่อหลัก

Total iron-binding capacity


ชื่ออื่น

Iron binding capacity, IBC, Serum Iron-Binding capacity, Siderophilin


การทดสอบที่เกี่ยวข้อง

Iron tests, Serum iron, Ferritin, Zinc Protoporphyrin (ZPP), Transferrin receptor


ความรู้ทั่วไป

ตรวจเพื่ออะไร

ทีไอบีซี (TIBC) หรือโททอลไอออนบายดิ้งคาพาซิตี้ (Total iron binding capacity) คือปริมาณของเหล็กทั้งหมดที่สามารถจับกับทรานสเฟอริน ( transferrin) ที่มีในเลือด ซึ่งสามารถใช้สำหรับประเมินค่าของทรานสเฟอรินในเลือดได้ โดยทรานสเฟอรินคือโปรตีนในเลือดซึ่งทำหน้าที่ขนส่งเหล็ก เมื่อปริมาณเหล็กสะสมในร่างกายลดลงจะมีการปรับตัวสร้างทรานสเฟอรินมากขึ้น ตามปกติประมาณ 1/3 ของทรานสเฟอรินเท่านั้นที่ถูกใช้เพื่อขนส่งเหล็ก ด้วยเหตุนี้ในเลือดจึงมีความสามารถในการขนส่งเหล็กเหลือมากพอ ซึ่งก็คือค่าอันแซทจูเรตเตตไอออนบายดิ้งคาพาซิตี้ (unsaturated iron binding capacity) หรือเรียกตัวย่อว่ายูไอบีซี (UIBC) นั่นเอง สำหรับทีไอบีซี (TIBC) คือค่ายูไอบีซี (UIBC) บวกกับค่าเหล็กในเลือด (serum iron)

ในภาวะพร่องธาตุเหล็ก (iron deficiency) พบว่ามีค่าทีไอบีซี (TIBC) สูงขึ้น คนปกติมีค่าทีไอบีซี (TIBC) ประมาณ 259 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ของน้ำหนักร่างกาย ระดับของทีไอบีซี (TIBC) ในเด็กแรกเกิดจะต่ำ แต่ระดับจะถึงค่าปกติภายใน 2 ปี ปกติร้อยละ 35 ของทรานส์เฟอริน (transferrin) ในเลือดจะรวมตัวอยู่กับเหล็ก


ตรวจเมื่อใด

การตรวจทีไอบีซี (TIBC) มักสั่งตรวจร่วมกับการทดสอบเหล็กหรือซีรัมไอออน (serum iron) เมื่อผู้ป่วยมีอาการของการขาดธาตุเหล็กหรือมีภาวะเหล็กเกิน หรือพบมีการทดสอบที่บ่งชี้ถึงโรคโลหิตจางเช่นลักษณะของเม็ดเลือดแดงมีขนาดเล็ก ติดสีซีดจาง ระดับฮีโมโกลบินและฮีมาโตคริตมีระดับต่ำ มีอาการของโรคโลหิตจางเช่น

  • อ่อนเพลียเรื้อรัง, เหนื่อยง่าย
  • หน้ามืด ตาลาย
  • ร่างกายอ่อนแอ
  • ปวดศรีษะ

เมื่อแพทย์สงสัยภาวะเหล็กเกิน หรือเมื่อมีประวัติครอบครัวเป็นโรคทางกรรมพันธุ์ (hemochromatosis) อาจสั่งตรวจเหล็กและทีไอบีซี (TIBC) ร่วมกับการทดสอบเฟอริติน เพื่อตรวจปริมาณของเหล็กที่เพิ่มขึ้น อาการของภาวะเหล็กเกินจะแตกต่างกันไป ขึ้นกับปริมาณของเหล็กที่สะสมในเลือดและเนื้อเยื่อ เช่น ปวดข้อ อ่อนเพลีย ขาดพลังงาน ปวดในช่องท้อง สูญเสียความต้องการทางเพศ หัวใจมีปัญหา


สิ่งส่งตรวจที่ต้องใช้

เลือดเจาะจากหลอดเลือดดำที่แขน


การเตรียมตัว

อาจต้องงดอาหาร 12 ชั่วโมง (ดื่มน้ำได้) ก่อนเจาะเลือด ควรเจาะเลือดช่วงเช้า

การแปลผล

ระดับทีไอบีซี (TIBC) ในเลือดต่ำกว่าปกติ แต่ยูไอบีซี (UIBC) สูงกว่าปกติ พบใน

  • หญิงตั้งครรภ์
  • ผู้ที่มีอาการตกเลือดรุนแรงหรือ
  • ผู้ที่ขาดธาตุเหล็ก

ระดับทีไอบีซี (TIBC) ในเลือดต่ำกว่าปกติ แต่ยูไอบีซี (UIBC) ปกติหรือต่ำกว่าปกติ พบในผู้ป่วยที่เป็นโรค

  • ติดเชื้อเฉียบพลัน
  • โลหิตจาง (pernicious anemia)
  • uremia
  • มะเร็งที่กระจายทั่วตัว (carcinomatosis)
  • ไตรั่ว (nephritic syndrome) เนื่องจากสูญเสียโปรตีนที่ทำหน้าที่จับตัวกับเหล็กไปในปัสสาวะ
  • ขาดอาหารโปรตีน ระดับทรานส์เฟอริน (transferrin) จะลดลงต่ำกว่าปกติ
  • ลักปิดลักเปิด (scurvy)
  • โลหิตจางชนิดเม็ดเลือดแดงแตก
  • rheumatoid arthritis

ระดับทีไอบีซี (TIBC) ในเลือดสูงกว่าปกติ พบในผู้ป่วยที่

  • มีทรานส์เฟอริน (transferrin) ในเลือดมากกว่าปกติและมียูไอบีซี (UIBC) ลดลง เช่น ผู้ป่วยโรคตับอักเสบเฉียบพลันและโรคตับแข็ง
  • โรคโลหิตจางแบบเม็ดเลือดแดงแตก
  • ได้รับการให้เลือดเป็นเวลานาน
  • รับประทานอาหารที่มีเหล็กมากหรือรับประทานยาบำรุงเลือดมากเกินไป


แหล่งอ้างอิง

  1. http://www.labtestsonline.org/understanding/analytes/tibc/glance.html
  2. พรทิพย์ โล่ห์เลขา เคมีคลินิกประยุกต์ 214-5.
  3. http://www.smj.ejnal.com/e-journal/showdetail/?show_detail=T&art_id=1175

ห้องปฏิบัติการที่ทำการตรวจสอบ

ห้องปฏิบัติการเคมีคลินิก



05 มีนาคม 2554 01 พฤษภาคม 2554
เพื่อนแนะนำ : เงินด่วน 30 นาทีถูกกฎหมาย, เราชนะรอบ 4, ยืมเงิน 3000 ด่วน, แอพผ่อนของ, กู้เงิน, สมัครบัตรเครดิต, สินเชื่อไม่เช็ค บูโรถูกกฎหมาย