ค้นหา Lab Tests

อ่าน: 4730
Small_font Large_font

ดัชนีเม็ดเลือดแดง : MCV, MCH, MCHC, RDW

ชื่อภาษาอังกฤษ

MCV, MCH, MCHC, RDW


ชื่อภาษาไทย

ดัชนีเม็ดเลือดแดง


ชื่อหลัก

Red blood cell indices


ชื่ออื่น

Erythrocyte indices, Blood indices, Mean corpuscular volume, Mean corpuscular hemoglobin, Mean corpuscular hemoglobin concentration, Red cell distribution width


การทดสอบที่เกี่ยวข้อง

Blood smear; Hemoglobin; Hematocrit; Red blood cell (RBC) count; White blood cell (WBC) count; White blood cell differential count; Platelet count

ความรู้ทั่วไป

ตรวจเพื่ออะไร

การตรวจดัชนีเม็ดเลือดแดง ใช้ในการช่วยวินิจฉัยสาเหตุของอาการโลหิตจาง โดยเป็นส่วนหนึ่งของการตรวจนับเม็ดเลือดอย่างสมบูรณ์ (CBC) ซึ่งดัชนีเม็ดเลือดแดงจะประกอบด้วย

ปริมาตรเฉลี่ยของเม็ดเลือด (Mean corpuscular volume:MCV) เป็นการวัดขนาดโดยเฉลี่ยของเม็ดเลือดแดง ค่าจะสูงขึ้นเมื่อขนาดของเม็ดเลือดใหญ่ขึ้นกว่าปกติ ซึ่งเรียกว่า แมคโครไซติก (macrocytic) พบได้ในภาวะ เช่น โลหิตจางที่เกิดจากการขาดวิตะมินบี 12 และค่าต่ำลงจะพบเมื่อมีขนาดของเม็ดเลือดแดงเล็กกว่าปกติ ซึ่งเรียกว่า ไมโครไซติก (microcytic) เช่นที่พบในภาวะโลหิตจางจากการขาดเหล็กหรือในโรคธาลัสซีเมีย

ค่าเฉลี่ยปริมาณของฮีโมโกลบินที่มีอยู่ในเม็ดเลือดแดง (Mean corpuscular hemoglobin: MCH) เป็นการคำนวณค่าเฉลี่ยของปริมาณฮีโมโกลบินซึ่งเป็นโปรตีนที่ขนส่งออกซิเจนในเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดแดงแบบแมคโครไซติกนั้นมีขนาดใหญ่จึงมีค่า MCH สูงในขณะที่แบบไมโครไซติก จะมีค่าต่ำ

ความเข้มข้นของงฮีโมโกลบินเฉลี่ยในเม็ดเลือดแดง (Mean corpuscular hemoglobin concentration: MCHC) เป็นการคำนวณค่าเฉลี่ยความเข้มข้นของฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดง ค่า MCHC ต่ำลงซึ่งเรียกว่า ไฮโปโครเมีย (hypochromia) พบในภาวะที่มีฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดงเจือจางกว่าปกติ เช่นในภาวะโลหิตจางจากการขาดเหล็กและในโรคธาลัสซีเมีย ค่า MCHC สูงขึ้นซึ่งเรียกว่า ไฮเปอโครเมีย (hyperchromia) พบในภาวะที่มีฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดงเข้มข้นกว่าปกติ เช่นในคนไข้ไฟไหม้น้ำร้อนลวกและภาวะผิดปกติทางพันธุกรรมที่มีเม็ดเลือดแดงมีลักษณะกลมและเล็กกว่าปกติ spherocytosis ซึ่งพบได้ค่อนข้างน้อย

การตรวจความแตกต่างของประชากรของเม็ดเลือดแดง (Red cell distribution width: RDW) เป็นการคำนวณความแตกต่างของขนาดเม็ดเลือดแดง ในโรคโลหิตจางบางชนิดเช่น เพอนิเชียส (pernicious anemia) ความแตกต่างของขนาดเม็ดเลือดแดงที่เรียกว่า อนิโสไซโตสิส (anisocytosis) ร่วมกับการที่มีเม็ดเลือดแดงหลากหลายรูปร่างที่เรียกว่า พอยกิโลไซโตสิส (poikilocytosis) เป็นสาเหตุของการมี RDW สูงขึ้น


ตรวจเมื่อใด

การพบว่ามีปริมาณเม็ดเลือดแดงลดลงที่เรียกว่าภาวะเลือดจาง (anemia) จะต้องประเมินต่อว่ามีความเปลี่ยนแปลงขนาดและรูปร่างของเม็ดเลือดแดงอย่างไร เพื่อวินิจฉัยหาสาเหตุว่าเกิดจากการสร้างลดลง การสูญเสียเพิ่มขึ้น หรือมีการแตกทำลายของเม็ดเลือดแดง แพทย์อาจสั่งตรวจซีบีซีเป็นระยะๆเพื่อติดตามดูดัชนีเม็ดเลือดแดง และติดตามผลการรักษาอาการเลือดจาง


สิ่งส่งตรวจที่ต้องใช้

เลือดที่เจาะจากเส้นเลือดดำที่แขนหรือเจาะจากปลายนิ้วหรือส้นเท้า (ในเด็กแรกเกิด)


แหล่งอ้างอิง

  1. http://www.labtestsonline.org/understanding/analytes/hepatitis_a/glance.html
  2. http://www.i-medipro.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=234115&Ntype=3
  3. http://th.wikipedia.org/wiki/การตรวจนับเม็ดเลือดอย่างสมบูรณ์
  4. บังอร ตัณฑ์เกยูร: บทที่ 7 การศึกษาสเมียร์เลือด: สุนารี องค์เจริญใจ, กฤษณา ปทีปโชติวงศ์ บรรณาธิการ. เทคนิคพื้นฐานทางโลหิตวิทยา (Basic Hematological Techniques):ภาควิชาจุลทรรศนศาสตร์คลินิก, คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล; 2548: 59 – 64.
  5. วนิดา (อัศวะมหาศักดา) อิฐรัตน์. โลหิตวิทยาทันยุค (Modern Hematology)กรุงเทพมหา นคร: เรือนแก้วการพิมพ์ ; 2545: 106-107, 109.
  6. http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/003648.htm

ห้องปฏิบัติการที่ทำการตรวจสอบ

โลหิตวิทยา



05 มีนาคม 2554 15 มีนาคม 2554
เพื่อนแนะนำ : เงินด่วน 30 นาทีถูกกฎหมาย, เราชนะรอบ 4, ยืมเงิน 3000 ด่วน, แอพผ่อนของ, กู้เงิน, สมัครบัตรเครดิต, สินเชื่อไม่เช็ค บูโรถูกกฎหมาย