ค้นหา Lab Tests

อ่าน: 608
Small_font Large_font

ซีเค (ครีเอตินไคเนส) : CK

ชื่อภาษาอังกฤษ

CK


ชื่อภาษาไทย

ซีเค (ครีเอตินไคเนส)


ชื่อหลัก

Creatine Kinase


ชื่ออื่น

Total CK, Creatine phosphokinase, CPK


การทดสอบที่เกี่ยวข้อง

CK-MB, Myoglobin, Troponin, Cardiac biomarkers


ความรู้ทั่วไป

ตรวจเพื่ออะไร

เพื่อตัดสินว่าท่านมีอาการหัวใจวาย หรือมีการบาดเจ็บของกล้ามเนื้ออื่นๆหรือไม่ ระดับซีเค (CK) ในเลือดจะเพิ่มขึ้นเมื่อมีการบาดเจ็บของเซลล์กล้ามเนื้อหรือหัวใจ แพทย์อาจสั่งตรวจในกรณีที่ท่านมีอาการเจ็บหน้าอกหรือลักษณะอาการอื่นที่แสดงถึงหัวใจวาย ระดับของซีเค (CK) ในเลือดจะเริ่มสูงขึ้นในช่วง 4 ถึง 6 ชั่วโมงหลังจากที่มีอาการหัวใจวาย และขึ้นถึงระดับสูงสุดในช่วง 18 ถึง 24 ชั่วโมงแล้วกลับสู่ระดับปกติภายใน 2 ถึง 3 วัน นอกจากนั้นระดับซีเค (CK) จะสูงขึ้นเมื่อมีการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อโครงสร้างได้ด้วย


ตรวจเมื่อใด

ในคนไข้ที่มีอาการหัวใจวาย มักจะมีการสั่งตรวจซีเค (CK) เมื่อเข้ารับการรักษาที่ห้องฉุกเฉิน และตรวจวัดเป็นช่วงๆห่างกัน 4 ถึง 6 ชั่วโมงทั้งหมด 3 ครั้ง หากท่านมีอาการเจ็บกล้ามเนื้อหรือกล้ามเนื้ออ่อนแรง แพทย์อาจสั่งตรวจซีเค (CK) เพื่อดูว่ามีการบาดเจ็บของกล้ามเนื้ออื่นๆหรือไม่


สิ่งส่งตรวจที่ต้องใช้

เลือดที่เจาะจากเส้นเลือดดำที่แขน


การแปลผล

โดยทั่วไประดับซีเค (CK) ที่เพิ่มขึ้นหรือมีการสูงขึ้นจากการสั่งตรวจครั้งที่สองหรือครั้งต่อๆมา แสดงว่ามีการบาดเจ็บของหัวใจหรือกล้ามเนื้ออื่นๆ นอกจากนั้นอาจบ่งบอกว่ามีการใช้กล้ามเนื้ออย่างหนัก หากแพทย์คิดว่าคนไข้มีอาการหัวใจวาย แล้วพบว่ามีระดับซีเค (CK) สูง มักจะมีการสั่งตรวจการทดสอบที่จำเพาะกว่า คือโทรโพนิน (troponin) เพื่อดูว่ามีการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อหัวใจหรือไม่

ผู้ที่มีมวลกล้ามเนื้อมากจะมีระดับซีเค (CK) สูงกว่าผู้ที่มีมวลกล้ามเนื้อน้อย ส่วนในผู้ที่มีเชื้อสายอาฟริกัน-อเมริกันจะมีระดับซีเค (CK) สูงกว่าชนชาติอื่นๆ การออกกำลังกายชนิดที่ใช้แรงมากเช่น การยกน้ำหนัก กีฬาที่มีการกระทบกระแทกกัน หรือการออกกำลังกายเป็นช่วงยาวนานก็ทำให้ระดับซีเค (CK) ในเลือดสูงขึ้นได้ เมื่อมีการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อในรูปแบบอื่นๆเช่น การล้ม อุบัติเหตุรถยนต์ การผ่าตัดหรือการฉีดยาก็ทำให้ระดับซีเค (CK) ในเลือดสูงขึ้นได้เช่นกัน

แพทย์อาจสั่งตรวจการทดสอบอื่นเพิ่มเติม เพื่อตัดสินว่ามีอาการหัวใจวายหรือไม่ โดยทั่วไปการทดสอบโทรโพนิน (Troponin) ถือเป็นการทดสอบที่มีความแม่นยำกว่า นอกจากนั้นการทดสอบซีเคเอ็มบี (CK-MB) ก็ถือว่ามีความแม่นยำในการตรวจสอบว่ามีการบาดเจ็บของหัวใจ แม้จะยังไม่มีอาการอื่นๆของหัวใจวาย ในผู้ป่วยหัวใจวายเกือบทั้งหมดจะมีระดับไมโอโกลบิน (myoglobin) และครีเอตินไคเนส (creatine kinase) สูงขึ้นแต่การตรวจพบนี้มีความจำเพาะน้อยกว่า เนื่องจากมีอาการอีกหลายอย่างที่ทำให้เกิดสารทั้งสองชนิดนี้ในเลือดสูงขึ้นได้

สภาวะที่พบค่าสูง

  • หัวใจวาย
  • ภาวะที่มีเส้นเลือดสมองอุดตัน
  • กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ
  • อาการชัก
  • อาการสั่นรุนแรงจากการเลิกดื่มสุรา
  • การอักเสบของกล้ามเนื้อ (Dermatomyositis หรือ Polymyositis)
  • ไฟฟ้าช้อต
  • กล้ามเนื้อปอดตาย
  • โรคทางกรรมพันธุ์ที่มีกล้ามเนื้อเสื่อมสลาย (Muscular dystrophies)
  • ภาวะไฮโปไทรอยด์
  • ภาวะไฮเปอร์ไทรอยด์
  • เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบหลังจากภาวะหัวใจวาย
  • ภาวะกล้ามเนื้อกระดูกและเนื้อเยื่อเสื่อมสลาย (Rhabdomyolysis)
  • ยาหลายชนิด เช่น แอมโฟเทอริซินบี แอมพิซิลิน แอสไพริน เด็กซาเมธาโซน

สภาวะที่พบค่าต่ำ

  • ระยะแรกของการตั้งครรภ์
  • ยาบางชนิด เช่น ยาฉีดไฮดรอกโซโคบาลามิน เพื่อรักษาพิษไซยาไนด์


แหล่งอ้างอิง

  1. http://www.labtestsonline.org/understanding/analytes/ck/glance.html
  2. http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/003504.htm
  3. เอกสารแนบน้ำยาตรวจสอบ CK ของบริษัทโรชไดแอกนอสติก หมายเลข 12132567001 V9, ค.ศ.2009

ห้องปฏิบัติการที่ทำการตรวจสอบ

ห้องปฎิบัติการเคมีคลินิก



02 กุมภาพันธ์ 2554 10 เมษายน 2554
เพื่อนแนะนำ : เงินด่วน 30 นาทีถูกกฎหมาย, เราชนะรอบ 4, ยืมเงิน 3000 ด่วน, แอพผ่อนของ, กู้เงิน, สมัครบัตรเครดิต, สินเชื่อไม่เช็ค บูโรถูกกฎหมาย