ค้นหา Lab Tests

อ่าน: 312
Small_font Large_font

แอลฟาฟีโตโปรตีน แอนติเจน : Alpha-fetoprotein antigen

ชื่อภาษาอังกฤษ

Alpha-fetoprotein antigen


ชื่อภาษาไทย

แอลฟาฟีโตโปรตีน แอนติเจน


ชื่อหลัก

Alpha-fetoprotein


ชื่ออื่น

AFP, alpha-1-fetoprotein,


การทดสอบที่เกี่ยวข้อง

CEA, hCG, Tumor markers, DCP


ความรู้ทั่วไป

ตรวจเพื่ออะไร

แอลฟาฟีโตโปรตีน แอนติเจน (Alpha-fetoprotein antigen) หรือเอเอฟพี (AFP) เป็นสารที่ผลิตและหลั่งจากเซลล์มะเร็ง จึงถือเป็นตัวบ่งชี้มะเร็ง (tumer marker) ตัวหนึ่ง ซึ่งใช้สำหรับการตรวจหาผู้ป่วยที่สงสัยมะเร็งตับ (hepatocellular carcinoma), มะเร็งจากเซลล์ตัวอ่อน (embryonal cell carcinoma) ของรังไข่ (ovary) และ อัณฑะ (testis)

เอเอฟพี (AFP) เป็นสารไกลโคโปรตีน (glycoprotein) และจัดเป็นแอนติเจนที่มาจากเซลล์มะเร็งที่ปกติจะเป็นเซลล์ที่พบในทารกในครรภ์ (oncofetal antigen) ชนิดหนึ่ง โดยปกติสร้างโดยเซลล์ชั้นในสุด (endoderm) ของ yolksac), เซลล์ตับ และทางเดินอาหารของทารกในครรภ์มารดา มีระดับสูงสุดในเลือดประมาณสัปดาห์ที่ 13 ของทารกในครรภ์ หลังจากนั้นจะมีปริมาณลดลงอย่างรวดเร็วเมื่อใกล้คลอด จนมีระดับเท่าระดับปกติในผู้ใหญ่ภายใน 2 – 3 สัปดาห์หลังคลอด

เอเอฟพี (AFP) มักมีค่าสูงกว่าปกติมากในผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งตับ และมะเร็งจากเซลล์ตัวอ่อน (embryonal cell carcinoma) ของรังไข่และอัณฑะ นอกจากนั้นยังอาจพบสูงขึ้นได้ในมะเร็งปอด มะเร็งของระบบทางเดินอาหาร รวมทั้งผู้ป่วยโรคตับอื่น ๆ ที่ไม่ใช่มะเร็งแต่ระดับมักไม่สูงมากนัก ในคนปกติสามารถตรวจพบเอเอฟพี (AFP) ขึ้นสูงได้ในทารกแรกคลอด หญิงมีครรภ์ที่มีอายุครรภ์ตั้งแต่ 2 เดือนขึ้นไป โดยเฉพาะถ้าทารกในครรภ์มีความผิดปกติของท่อประสาท (neural tube) จะสามารถตรวจพบเอเอฟพี (AFP) ในเลือดของมารดาและในน้ำคร่ำได้สูงกว่าระดับที่พบในหญิงตั้งครรภ์ปกติที่มีอายุครรภ์เท่ากันถึง 2 – 3.5 เท่า


ตรวจเมื่อใด

เอเอฟพี (AFP) เป็นตัวบ่งชี้มะเร็ง (tumor marker) ที่ได้รับการยอมรับให้นำมาใช้ในการตรวจคัดกรองสำหรับตรวจหาผู้ป่วยมะเร็งตับในระยะเริ่มแรกก่อนที่จะมีอาการทางคลินิกในกลุ่มผู้ที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งชนิดนี้สูงเช่น ผู้ที่เป็นพาหะไวรัสตับอักเสบบี, ไวรัสตับอักเสบเรื้อรัง, โรคตับแข็ง เป็นต้น โดยแนะนำให้ตรวจซ้ำทุก 3 – 6 เดือน หรือร่วมกับการตรวจอัลตราซาวด์ของตับ


สิ่งส่งตรวจที่ต้องใช้

เลือด (เจาะจากหลอดเลือดดำที่แขน)


แหล่งอ้างอิง

  1. http://www.labtestsonline.org/understanding/analytes/afp_tumor/glance.html
  2. นิศารัตน์ โอภาสเกียรติกุล, วัฒนา เลี้ยววัฒนา, ดาราวรรณ วนะชิวนาวิน, มงคล คุณากร และวนิดา วงศ์ถิรพร พยาธิวิทยาคลินิก พิมพ์ครั้งที่ 1 กรุงเทพฯ สมาคมพยาธิวิทยาคลินิกไทย (สพคท.) 2545: 95.

ห้องปฏิบัติการที่ทำการตรวจสอบ

ห้องปฏิบัตการภูมิคุ้มกันวิทยา



07 กุมภาพันธ์ 2554 26 มิถุนายน 2554
เพื่อนแนะนำ : เงินด่วน 30 นาทีถูกกฎหมาย, เราชนะรอบ 4, ยืมเงิน 3000 ด่วน, แอพผ่อนของ, กู้เงิน, สมัครบัตรเครดิต, สินเชื่อไม่เช็ค บูโรถูกกฎหมาย