ค้นหา Lab Tests

อ่าน: 1865
Small_font Large_font

การย้อมสีแอซิดฟาสต์แบคทีเรีย : Acid fast bacillus stain

ชื่อภาษาอังกฤษ

Acid fast bacillus stain


ชื่อภาษาไทย

การย้อมสีแอซิดฟาสต์แบคทีเรีย


ชื่อหลัก

Acid-fast bacillus smear


ชื่ออื่น

Acid fast stain, AFB Stain


การทดสอบที่เกี่ยวข้อง

TB skin test, Bacterial wound culture


ความรู้ทั่วไป

ตรวจเพื่ออะไร

เอเอฟบี (Acid-fast bacilli -AFB) เป็นเชื้อแบคทีเรียรูปร่างเป็นแท่งที่สามารถดูได้จากกล้องจุลทรรศน์หลังจากการย้อมสีตัวอย่างตรวจที่นำมาไถสไลด์ ซึ่งเรียกว่า เอเอฟบีสเมียร์ การย้อมสี Acid fast bacilli นี้เป็นการตรวจวินิจฉัยเชื้อในขั้นตอนแรก เชื้อในกลุ่มนี้ที่พบบ่อยที่สุดคือ ไมโคแบคทีเรีย (Mycobacterium) โดย Mycobacterium tuberculosis ซึ่งเป็นสาเหตุของวัณโรคเป็นเชื้อที่พบบ่อยที่สุดและแพร่เชื้อได้มากที่สุด สิ่งตรวจที่ส่งมาย้อม AFB และเพาะเชื้อส่วนใหญ่เป็นเพราะแพทย์สงสัยว่ามีการติดเชื้อวัณโรค

การพบ AFB ในเสมหะพร้อมๆกับการที่ผู้ป่วยมีประวัติว่า มีอาการไอ น้ำหนักลด และพบจุดจากการ X- ray ทรวงอก ช่วยในการประเมินได้ว่าผู้ป่วยกำลังมีอาการของวัณโรคอยู่ การย้อมสี Acid fast bacilli นี้ยังมีประโยชน์ในการติดตามการตอบสนองต่อการรักษาในผู้ป่วย หลังจากที่ได้รับยาต้าน mycobacterium หากการเพาะเชื้อจากผู้ป่วยไม่ขึ้น แต่ผลการย้อม AFB ยังให้ผล Positive อยู่ จึงคาดว่าผู้ป่วยยังคงมีเชื้ออยู่ในร่างกาย

การย้อมสเมียร์ AFB ส่วนใหญ่จึงทำเพื่อตรวจว่ามีการติดเชื้อ Mycobacterium tuberculosis อยู่หรือไม่ หรือติดเชื้อจากเชื้ออื่นในกลุ่มนี้หรือมีอาการที่เหมือนวัณโรคเพราะสาเหตุอื่น

ในบรรดา mycobacteria กว่า 60 ชนิดนั้นมีเพียงไม่กี่ชนิดที่ก่อให้เกิดโรคในคน นั่นคือ

  • M. africanum ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคที่คล้ายวัณโรคในบางแห่งของโลก
  • Mycobacteria avium-intracellular complex (MAC) ทำให้เกิดการติดเชื้อในปอดในผู้ที่ภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่น ผ้สูงอายุ และผู้ติดเชื้อเอดส์ การติดเชื้อนี้จะไม่ติดต่อแต่รักษายากเพราะมักจะเป็นเชื้อที่ดื้อมากต่อยา
  • Mycobacteria ชนิดอื่นๆ เช่น mycobacterium marinum ที่เจริญได้ในน้ำ เช่นอ่างเลี้ยงปลา ทำให้เกิดการติดเชื้อที่ผิวหนัง และมี mycobacteria ที่โตเร็วบางชนิดสามารถก่อโรคในแผลและอุปกรณ์เทียมอื่นๆ
  • มี mycobacteria บางชนิด เช่น M. bovis อาจมีการติดต่อจากสัตว์สู่คนได้

การสเมียร์เพื่อย้อม AFB ควรทำหลายๆแผ่นในการคัดกรอง AFB เพราะจำนวนของเชื้ออาจแตกต่างกันในแต่ละวัน หากพบเชื้อในแผ่นใดก็ตาม บ่งบอกว่าน่าจะมีการติดเชื้อ mycobacteria โดยส่วนใหญ่จะเป็น M.tuberculosis จึงพอจะประเมินได้ว่าเป็นวัณโรค แต่ต้องมีการทดสอบยืนยันว่าผลสเมียร์บวกนั้นเป็นวัณโรคหรือเป็น mycobacteria ชนิดอื่น

ตัวอย่างตรวจที่นำมาสเมียร์จะมีการเพาะเชื้อในเวลาเดียวกัน การเพาะเชื้อเป็นการทำให้เชื้อเจริญในห้องปฏิบัติการ ตัวอย่างตรวจที่เป็นสารน้ำจากร่างกายหรือชิ้นเนื้อจะมีการทำลายการปนเปื้อนจากแบคทีเรียในทางเดินหายใจก่อน แล้วมีการย่อยละลายเมือกและทำให้เข้มข้นขึ้นเพื่อเพิ่มจำนวนเชื้อ ก่อนที่จะใส่ลงในสารอาหารเลี้ยงเชื้อและนำไปเพาะเชื้อ เนื่องจาก mycobacteria เป็นเชื้อที่โตช้าโดยใช้เวลาหลายวันถึงหลายสัปดาห์ การจะยืนยันว่าไม่มีเชื้อขึ้นอาจต้องรอถึง 6-8 สัปดาห์


ตรวจเมื่อใด

เมื่อมีอาการเช่น การไอเรื้อรัง น้ำหนักลด มีไข้หนาวสั่นและอ่อนเพลีย ซึ่งอาจเกิดได้จากวัณโรคหรือการติดเชื้อไมโคแบคทีเรียชนิดอื่น หรือเมื่อแพทย์สงสัยว่าผู้ป่วยกำลังติดเชื้อวัณโรค หรือเมื่อต้องการติดตามผลของการให้ยารักษาวัณโรค


สิ่งส่งตรวจที่ต้องใช้

ปกติจะเก็บตัวอย่างเสมหะในช่วงเช้าเป็นเวลา 3 ครั้ง (วันละครั้ง ติดต่อกัน 3 วัน) หากไม่มีเสมหะอาจใช้วิธีเก็บผ่านการส่องกล้องหลอดลม (bronchoscopy) ในเด็กอาจใช้การล้างกลั้วคอ (gastric washing) และหากมีข้อบ่งชี้อาจมีการเก็บตัวอย่างจากปัสสาวะ น้ำไขสันหลังหรือสารน้ำจากในร่างกายอื่นๆ หรือชิ้นเนื้อเพื่อทำการเพาะเชื้อด้วย


แหล่งอ้างอิง

  1. http://www.labtestsonline.org/understanding/analytes/afb_culture/test.html#top
  2. http://www.medtechzone.com/data/bac/AFB.php
  3. Koneman’s color atlas and textbook of diagnostic microbiology. 6 ed. C2006 Washington C. Winn,Elmer W. Koneman, Lippincott Williams & Wilkins.

ห้องปฏิบัติการที่ทำการตรวจสอบ

ห้องปฏิบัติการจุลชีววิทยา



06 กุมภาพันธ์ 2554 12 มิถุนายน 2554
เพื่อนแนะนำ : เงินด่วน 30 นาทีถูกกฎหมาย, เราชนะรอบ 4, ยืมเงิน 3000 ด่วน, แอพผ่อนของ, กู้เงิน, สมัครบัตรเครดิต, สินเชื่อไม่เช็ค บูโรถูกกฎหมาย