บ๊วยดำ หรือ อูเหมย คือ ผลใกล้สุกที่ทำให้แห้งของพืชที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Prunus mume (Sieb.) Sieb. et Zucc. วงศ์ Rosaceae [1]
บ๊วยดำ, บ๊วย (ภาคกลาง) [2]
อูเหมย (จีนกลาง), โอวบ๊วย (จีนแต้จิ๋ว) [1]
Smoked Plum [1]
Fructus Mume [1]
เก็บเกี่ยวผลใกล้สุกในฤดูร้อน ผิงไฟที่อุณหภูมิต่ำ ๆ จนกระทั่งเปลี่ยนเป็นสีดำ เก็บรักษาไว้ในที่มีอากาศเย็นและแห้ง มีการระบายอากาศดี [1]
การเตรียมตัวยาพร้อมใช้มี 4 วิธี ดังนี้
วิธีที่ 1 บ๊วยดำ เตรียมโดยนำวัตถุดิบสมุนไพรมาแยกสิ่งอื่นที่ปะปนออก ล้างน้ำให้สะอาด และนำไปตากแห้ง [1, 3]
วิธีที่ 2 เนื้อบ๊วยดำ เตรียมโดยนำตัวยาที่ได้จากวิธีที่ 1 มาล้างน้ำอย่างรวดเร็วให้สะอาด ใส่ภาชนะปิดฝาไว้หรือนำไปนึ่งสักครู่เพื่อให้อ่อนนุ่ม แยกเอาเฉพาะส่วนเนื้อ นำไปตากแห้ง แล้วร่อนเอาเศษเล็ก ๆ ออก [1, 3]
วิธีที่ 3 บ๊วยดำเผา เตรียมโดยนำตัวยาที่ได้จากวิธีที่ 1 หรือ 2 ใส่กระทะ นำไปผัดโดยใช้ไฟแรง ผัดจนกระทั่งผิวนอกโป่งพองและมีสีดำเกรียม นำออกจากเตา ตั้งทิ้งไว้ให้เย็น แล้วร่อนเอาเศษเล็ก ๆ ออก [1, 3]
วิธีที่ 4 บ๊วยดำหมักน้ำส้ม เตรียมโดยนำตัวยาที่ได้จากวิธีที่ 1 หรือ 2 มาหมักกับน้ำส้ม (ที่ได้จากการหมักกลั่นข้าว) ในภาชนะที่มีฝาปิด จนกระทั่งน้ำส้มแทรกซึมเข้าไปในเนื้อตัวยา จากนั้นนำไปให้ความร้อนโดยใช้น้ำเป็นตัวกลาง (คล้ายวิธีตุ๋น) ประมาณ 2-4 ชั่วโมง แล้วนำออกมาตากแห้ง (โดยทั่วไปใช้น้ำส้ม 10 กิโลกรัม ต่อบ๊วยดำหรือเนื้อบ๊วยดำ 100 กิโลกรัม) [1, 3]
ตัวยาที่มีคุณภาพดี ผลต้องมีขนาดใหญ่ เนื้อหนา สีดำ เหนียวนุ่ม [4]
บ๊วยดำ รสเปรี้ยว ฝาด สุขุม มีฤทธิ์ให้ความชุ่มชื้นปอด ระงับไอ แก้ไอแห้ง ไอเรื้อรัง มีฤทธิ์สมานลำไส้ ระงับอาการท้องร่วง แก้ท้องร่วงเรื้อรัง บิดเรื้อรัง มีฤทธิ์ฆ่าพยาธิ แก้พยาธิ และมีฤทธิ์เสริมธาตุน้ำ แก้ร้อนแบบพร่อง ร้อนใน กระหายน้ำ[1]
เนื้อบ๊วยดำ มีสรรพคุณและวิธีใช้เหมือนบ๊วยดำ แต่มีฤทธิ์แรงกว่า เนื่องจากปราศจากเมล็ด [3]
บ๊วยดำเผา มีฤทธิ์สมานลำไส้ ระงับอาการท้องร่วง และห้ามเลือดได้ดี โดยทั่วไปใช้รักษาอาการท้องร่วงเรื้อรังและมีเลือดปน [3]
บ๊วยดำหมักน้ำส้ม มีวิธีใช้เหมือนบ๊วยดำ แต่มีฤทธิ์ฝาดสมานแรงขึ้น โดยทั่วไปใช้รักษาอาการไอเรื้อรังเนื่องจากชี่ของปอดไม่เพียงพอ และอาการปวดท้องเนื่องจากพยาธิไส้เดือน [3]
การแพทย์แผนจีน ใช้ 6-12 กรัม ต้มเอาน้ำดื่ม [1]
การแพทย์แผนจีน ควรระมัดระวังในการใช้ในผู้ป่วยมีไข้ ร้อนแกร่ง [1]