คลาดริบีน (คลา-ดริ-บีน) (cladribine) เป็นยาที่มีโครงสร้างทางเคมีคล้ายเพียวรีนนิวคลีโอไซด์ (purine nucleoside analogs) คลาดริบีนทนต่อการถูกทำลายด้วยเอนไซม์อะดีโนซีนดีอะมิเนส (adenosine deaminase) หลังจากถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายจะถูกเปลี่ยนอยู่ในรูปไทรฟอสเฟต (triphosphate) แล้วรวมเข้ากับสายดีเอ็นเอ (DNA)โดยตรง ส่งผลยับยั้งการสังเคราะห์ดีเอ็นเอ และหยุดยั้งการเรียงต่อของลำดับเบสของดีเอ็นเอ (chain terminator)
โปรดแจ้งบุคลากรทางการแพทย์หากท่านเคยมีอาการผิดปกติใด ๆ หรือมี ประวัติการแพ้คลาดริบีน (cladribine) หรือ ส่วนประกอบใด ๆ ในยานี้ รวมทั้งการมีประวัติเคยแพ้สารอื่นๆ เช่น อาหาร, สารกันเสีย, สี เป็นต้น
รายการนี้จัดอยู่ในประเภท 'D' สำหรับสตรีมีครรภ์
ยามีความเสี่ยงในการก่อให้เกิดความผิดปกติต่อทารกในครรภ์ อย่างไรก็ตาม อาจใช้ยานี้ได้หากพิจารณาแล้วว่าประโยชน์จากการใช้ยามีมากกว่าความเสี่ยงต่อทารกในครรภ์ ดังนั้นการพิจารณาใช้ยาให้อยู่ในดุลยพินิจของแพทย์
จากกลไกการออกฤทธิ์คลาดริบีน (cladribine) สามารถทำให้เกิดอันตรายต่อทารก เมื่อให้ยาในสตรีมีครรภ์จากการศึกษาพบว่าคลาดริบีน ทำให้เกิดความผิดปกติต่อตัวอ่อนของสัตว์ทดลอง โปรดแจ้งแก่แพทย์หากกำลังวางแผนจะมีบุตร เนื่องจากคลาดริบีน อาจทำให้ทารกในครรภ์เสียชีวิตหรือเกิดทารกวิรูปได้เมื่อให้ยาในหญิงตั้งครรภ์ สตรีวัยเจริญพันธุ์ควรใช้วิธีคุมกำเนิดระหว่างใช้ยานี้
โปรดแจ้งแก่แพทย์หากท่านกำลังให้นมบุตร หรือตั้งใจจะให้นมบุตรในระหว่างที่ได้รับยาคลาดริบีน (cladribine) เนื่องจากยาอาจทำให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์ที่รุนแรง จึงไม่แนะนำให้ทารกได้รับน้ำนมมารดาระหว่างใช้ยานี้
ยาหลายชนิดยังไม่มีการศึกษาในผู้สูงอายุ ดังนั้นจึงยังไม่ทราบการทำงานที่แท้จริงของยาว่ามีการทำงานเช่นเดียวกันกับในผู้ป่วยวัยอื่นหรือไม่ รวมทั้งยังไม่ทราบว่ายานี้ทำให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์, ปัญหาใด ๆ ที่แตกต่างกันในผู้สูงอายุหรือไม่ เนื่องจากยังไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับการเปรียบเทียบการใช้ยาคลาดริบีน (cladribine) ในผู้สูงอายุกับวัยอื่น ๆ
ถึงแม้ว่ายาบางอย่างไม่ควรใช้ร่วมกัน ในบางกรณีที่จำเป็นอาจใช้ร่วมกันได้ถึงแม้ว่าอันตรกิริยาอาจเกิดขึ้นก็ตาม โดยแพทย์อาจปรับเปลี่ยนขนาดยาหรืออาจมีข้อควรระวังอื่นๆ ที่จำเป็น ท่านต้องแจ้งบุคลากรทางการแพทย์หากท่านกำลังใช้ยาต่อไปนี้ร่วมอยู่ด้วย
table{border:0px}.
|วัคซีนป้องกันวัณโรค (BCG vaccine)|
|วัคซีนโรคโปลิโอชนิดตัวเป็น (poliovirus vaccine, live)|
|วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ชนิดตัวเป็น (influenza virus vaccine, live)|
|วัคซีนโรคหัดชนิดตัวเป็น (measles virus vaccine, live)|
|วัคซีนโรคคางทูมชนิดตัวเป็น (mumps virus vaccine, live)|
|วัคซีนโรตาไวรัสชนิดตัวเป็น (rotavirus vaccine, live)|
|วัคซีนโรคหัดเยอรมันชนิดตัวเป็น (rubella virus vaccine, live)|
|วัคซีนโรคฝีดาษ (smallpox vaccine)|วัคซีนไทฟอยด์ชนิดตัวเป็น (typhoid vaccine, live)|
|วัคซีนโรคอีสุกอีใส (varicella virus vaccine)|วัคซีนไข้เหลือง (yellow fever vaccine)|
|แอมโฟเทอริซินบี (amphotericin B)|ยาต้านไทรอยด์ (antithyroid)|
|แอซาไทโอพรีน (azathioprine)|คลอแรมเฟนิคอล (chloramphenicol)|
|คอลชิซีน (colchicines)|ฟลูไซโทซีน (flucytosine)|
|แกนไซโคลเวียร์ (ganciclovir)|อินเทอเฟียรอน (interferon)|
|พลิคามัยซิน (plicamycin)|ไซโดวูดีน (zidovudine)|
|เพนโทสแททิน (pentostatin)|
ปัญหาความเจ็บป่วยอื่นที่ท่านเป็นอยู่อาจส่งผลต่อการใช้ยาคลาดริบีน (cladribine) ท่านควรแจ้งแพทย์หากท่านมีภาวะเหล่านี้ร่วมด้วย เช่น
ยามีจำหน่ายในรูปแบบยาฉีด
ขนาดยาของยาคลาดริบีน (cladribine) ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น น้ำหนัก ส่วนสูงของผู้ป่วย ชนิดและระยะของโรคมะเร็งที่ผู้ป่วยเป็น รวมทั้งผลการตอบสนองต่อยาของผู้ป่วยแต่ละราย โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะเป็นผู้วิเคราะห์ แนะนำ และกำหนดเวลา และมีเภสัชกรผู้เตรียมยาเคมีบำบัด ตรวจสอบขนาดยาที่ท่านได้รับ เพื่อความปลอดภัยสูงสุดของผู้ป่วย นอกจากนี้ความถี่ของการให้ยาคลาดริบีน อาจแตกต่างกันขึ้นอยู่กับสูตรยาที่ใช้ และสภาพร่างกายของผู้ป่วย เช่น ทุกสัปดาห์ หรือทุกเดือน บางครั้งอาจต้องหยุดยาชั่วคราว เพื่อให้ร่างกายมีเวลาพัก และซ่อมแซมเซลล์ปกติให้แข็งแรงพอที่จะให้ยาในครั้งต่อไปได้
ควรติดตามผลการรักษาเป็นระยะ โดยมาตรวจตามแพทย์นัด และรับยาตามแผนการรักษา การได้ยาไม่ครบ หรือระยะเวลาไม่ตรงกำหนด ก่อให้เกิดผลเสียต่อการรักษา ถ้ามีเหตุจำเป็นต้องเลื่อนระยะเวลาการให้ยา ควรแจ้งแพทย์ก่อนทุกครั้ง
เก็บยาในตู้เย็นอุณหภูมิ 2°- 8° องศาเซลเซียส และป้องกันแสง
ยาอาจทำให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์บางอย่างที่ไม่ต้องการ ซึ่งอาการเหล่านี้ไม่ได้เกิดกับผู้ใช้ยาทุกราย แต่หากเกิดอาการไม่พึงประสงค์ขึ้นควรได้รับการรักษาที่เหมาะสม
ก. พบแพทย์ทันหากมีอาการต่อไปนี้
พบบ่อย
ข. พบแพทย์โดยเร็ว หากมีอาการต่อไปนี้
พบบ่อย
พบน้อย
ค. อาการไม่พึงประสงค์อื่น ๆ อาจเกิดขึ้นได้โดยไม่จำเป็นต้องได้รับการรักษา อาการไม่พึงประสงค์เหล่านี้จะหายไปในระหว่างการรักษาหรือหยุดยาไปแล้วเนื่อง จากร่างกายจะปรับตัวเข้ากับยา ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรถ้าอาการไม่พึงประสงค์เหล่านี้เกิดขึ้นติดต่อกันนาน หรือรบกวนการใช้ชีวิตประจำวันของท่าน
พบบ่อย
ง. อาการไม่พึงประสงค์อื่น ๆ นอกเหนือจากที่ระบุไว้อาจเกิดขึ้นในผู้ป่วยบางราย หากท่านสังเกตเห็นอาการไม่พึงประสงค์อื่น ๆ ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร
เขียนโดย โพยม วงศ์ภูวรักษ์, ไตรรัตน์ แก้วเรือง
เขียนเมื่อ 03 Jul 2010 21:07 แก้ไขเมื่อ 12 Oct 2010 21:10