ยาที่สามารถลดกรดในกระเพาะได้ มี 3 กลุ่มใหญ่ แต่ละกลุ่มมีกลไกในการลดกรดแตกต่างกัน ดังนี้
อย่างไรก็ตาม คำว่า “ยาลดกรด” มักจะหมายถึง ยาลดกรดมีฤทธิ์เป็นด่างซึ่งทำให้กรดที่มีมากในกระเพาะมีความเป็นกลาง ส่วนยาที่มีฤทธิ์ยับยั้งกรดอีก 2 กลุ่มจะเรียกตามกลไกการออกฤทธิ์คือ กลุ่มยาต้านตัวรับฮิสตามีนชนิดที่ 2 และกลุ่มโพรตอนปั๊มอินฮิบิเทอร์ ในที่นี้จึงกล่าวถึงเฉพาะยาลดกรดที่มีมีฤทธิ์เป็นด่างซึ่งทำให้กรดที่มีมากในกระเพาะมีความเป็นกลาง
ยาลดกรดชนิดรับประทานใช้บรรเทาอาการแสบร้อนกลางอก (heartburn), มีกรดในกระเพาะมาก, อาหารไม่ย่อยร่วมกับมีกรดในกระเพาะมาก, ภาวะกรดไหลย้อนจากกระเพาะสู่หลอดอาหาร (gastro-esophageal reflux disease หรือเรียกย่อว่า GERD) ยาลดกรดยังสามารถใช้ร่วมกับยาอื่นในการรักษาอาการแผลในกระเพาะหรือแผลในลำไส้เล็กส่วนต้น
ยาลดกรดบางชนิดอาจมีตัวยาที่มีฤทธิ์อื่นเพื่อช่วยเสริมฤทธิ์ในการรักษา เช่น ซิเมทิโคน (simethicone) ซึ่งอาจเรียกชื่อเป็นอย่างอื่นคือ ดิเมทิโคนที่ถูกแอคติเวท (activated dimethicone), ไดเมทิลโพลีไซโลเซน(dimethylpolysiloxane) ซิเมทิโคนมีฤทธิ์สารป้องกันการเกิดฟอง (antifoaming agent) และช่วยบรรเทาอาการที่มีแก๊สในกระเพาะมาก ยาลดกรดบางชนิดอาจมีกรดอัลจินิก (alginic acid) หรืออัลจิเนต (alginate) ซึ่งทำหน้าที่ปกป้องเยื่อบุเมือกในกระเพาะ และเป็นทุ่นลอยอยู่ที่ผิวของสิ่งที่อยู่ในกระเพาะทำให้ลดการไหลย้อนสู่หลอดอาหารและป้องกันเยื่อบุของหลอดอาหาร
สำหรับยาลดกรดที่ประกอบด้วยแมกนีเซียมไฮดรอกไซด์ (magnesium hydroxide) หรือแมกนีเซีย (magnesia) และแมกนีเซียมออกไซด์ (magnesium oxide) หากใช้ในขนาดยาสูงกว่าฤทธิ์ลดกรดจะทำให้มีฤทธิ์เป็นยาระบายด้วย สำหรับข้อมูลที่จะกล่าวในที่นี้จะกล่าวถึงเฉพาะฤทธิ์ลดกรดเท่านั้น
นอกจากนี้อาจมีการใช้ยาลดกรดที่มีอะลูมินัมไฮดรอกไซด์ ( aluminum hydroxide) ในการรักษาภาวะฟอสเฟตในเลือดสูง (hyperphosphatemia) และอาจใช้ร่วมกับการรับประทานอาหารที่มีฟอสเฟตต่ำเพื่อป้องกันการเกิดนิ่วในไตบางรูปแบบ แพทย์อาจสั่งใช้อะลูมินัมไฮดรอกไซด์สำหรับรักษาภาวะอื่นตามความเหมาะสม
ยาเหล่านี้บางเภสัชภัณฑ์เป็นยาสามัญประจำบ้านที่สามารถหาซื้อได้ทั่วไป แต่บางเภสัชภัณฑ์จำหน่ายได้เฉพาะในร้านยา หรืออาจได้รับจากคลินิกหรือโรงพยาบาลตามแพทย์สั่ง
โปรดแจ้งบุคลากรทางการแพทย์หากท่านเคยมีอาการผิดปกติใดๆ หรือมีประวัติการแพ้อะลูมินัม (aluminum), แคลเซียม (calcium), แมกนีเซียม (magnesium) หรือ ซิเมทิโคน (simethicone) ที่เป็นส่วนประกอบในยาเหล่านี้ หรือ ส่วนประกอบใด ๆ ในยาเหล่านี้ รวมทั้งการมีประวัติเคยแพ้สารอื่นๆ เช่น อาหาร สารกันเสียหรือสี เป็นต้น
หากแพทย์แนะนำให้ท่านรับประทานอาหารที่มีโซเดียมต่ำ โปรดแจ้งผู้จ่ายยา เนื่องจากยาลดกรดบางชนิดมีปริมาณโซเดียมจำนวนมาก
ไม่มีข้อมูลการจัดยาลดกรดที่ประกอบด้วยอะลูมินัม (aluminum), แมกนีเซียม (magnesium) และแคลเซียม และโซเดียม ว่าอยู่ในประเภทใดของการจัดกลุ่มยาที่มีผลต่อสตรีมีครรภ์ (pregnancy category) ควรหลีกเลี่ยงการใช้ยานี้ เว้นแต่แพทย์พิจารณาแล้วว่าจำเป็นต้องใช้เพราะยังไม่มีการศึกษาผลของยาเหล่านี้ในคนหรือในสัตว์ที่ตั้งครรภ์ อย่างไรก็ตามมีรายงานว่ายาลดกรดสามารถทำให้เกิดผลข้างเคียงต่อทารกที่แม่รับประทานยาลดกรดเป็นเวลานานในระหว่างการตั้งครรภ์ โดยเฉพาะเมื่อใช้ยาในขนาดสูง และหากมีแนวโน้มที่จะบวมเนื่องจากน้ำคั่งในร่างกายควรหลีกเลี่ยงยาลดกรดที่มีส่วนประกอบของโซเดียม
ยาลดกรดที่มีอะลูมินัม, แคลเซียม หรือ แมกนีเซียม อาจผ่านเข้าสู่น้ำนมได้ สตรีที่รับประทานยานี้และต้องการให้นมบุตรควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยา
ไม่ควรให้ยาลดกรดในเด็กอายุต่ำกว่า 6 ปี เว้นแต่แพทย์สั่ง เนื่องจากเด็กไม่สามารถอธิบายอาการของตนเองได้ชัดเจน และอาจมีภาวะอื่นที่ไม่สามารถรักษาได้ด้วยยาลดกรด และอาจทำให้อาการของเด็กเลวลง หรือได้รับผลข้างเคียงจากยา จึงต้องให้แพทย์ตรวจอาการก่อนให้ยาลดกรด นอกจากนี้ไม่ควรให้ยาที่มีอะลูมินัม, แคลเซียม หรือ แมกนีเซียมในทารกเกิดก่อนกำหนด หรือเด็กเล็กมาก ๆ เนื่องจากอาจทำให้เกิดอาการข้างเคียงที่รุนแรง โดยเฉพาะเมื่อให้ในเด็กที่เป็นโรคไต หรืออยู่ในภาวะขาดน้ำ
ไม่ควรใช้ยาลดกรดที่มีส่วนประกอบของอะลูมินัมในผู้สูงอายุที่มีปัญหาของกระดูกหรือเป็นโรคอัลไซเมอร์ (alzheimer’s disease) เพราะอาจทำให้ปัญหาเหล่านี้รุนแรงขึ้น
ถึงแม้ว่ายาบางอย่างไม่ควรใช้ร่วมกัน ในบางกรณีที่จำเป็นอาจใช้ร่วมกันได้ถึงแม้ว่าอันตรกิริยาอาจเกิดขึ้นก็ตาม โดยแพทย์อาจปรับเปลี่ยนขนาดยาหรืออาจมีข้อควรระวังอื่นๆ ที่จำเป็น เมื่อท่านต้องการจะรับประทานยาลดกรดรูปแบบรับประทาน ท่านต้องแจ้งบุคลากรทางการแพทย์ หากท่านกำลังใช้ยาต่อไปนี้
ก. ยาที่ยาลดกรดมีผลรบกวนการดูดซึม ทำยาถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดลดลง และลดผลการรักษาได้ เช่น
ยาต้านเชื้อแบคทีเรียกลุ่มฟลูออโรควิโนโลน เช่น อีนอกซาซิน (enoxacin), ซิโพรฟลอกซาซิน (ciprofloxacin), โลมีฟลอกซาซิน (lomefloxacin), ลีโวฟลอกซาซิน (levofloxacin),นอร์ฟลอกซาซิน (norfloxacin), โอฟลอกซาซิน (ofloxacin), สปาร์ฟลอกซาซิน (sparfloxacin)
ข. ยาที่อาจลดผลการรักษาของยาลดกรด เช่น
ปัญหาความเจ็บป่วยอื่นที่ท่านเป็นอยู่อาจส่งผลต่อการใช้ยาลดกรด ท่านควรแจ้งบุคลากรทางการแพทย์หากท่านมีสภาวะเหล่านี้ร่วมด้วย เช่น
รายการนี้เกี่ยวข้องกับกลุ่มยาต่อไปนี้
ยาต่อไปนี้อยู่ในกลุ่มยานี้
1. British Medical Association and Royal Pharmaceutical Society of Great Britain. British National Formulary. 50th ed. (September, 2005) BMJ Publishing Group Ltd., London, 37-51.
2. CPM medica. MIMS Thailand Online. Available at http://www.mims.com. Access Date: 21 March, 2010.
3. MedlinePlus Trusted Health Information for You. Antacids (oral). Available at http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/druginfo/drug_Aa.html. Access Date: March 17, 2005.
4. สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา แสดงรายละเอียดของผลิตภัณฑ์ ประเภททะเบียน ยามนุษย์ผลิตภายในประเทศ ... Available at: www2.fda.moph.go.th/.../dgexp111.asp?... Access date: March 19, 2010