เป็นพยาธิแส้ม้าตัวเต็มวัยมีลำตัวแบ่งเป็น 2 ส่วนชัดเจน ส่วนหน้าเรียวเล็กยาวคล้ายปลายแส้ส่วนท้ายมีขนาดใหญ่กว่ามีลักษณะคล้ายด้ามแส้ พบในเขตร้อนและอบอุ่น ปัจจุบันพบได้ทุกภาคของประเทศไทย แต่พบการติดโรคสูงในภาคใต้ และถิ่นทุรกันดารหรือกลุ่มชาวเขา มีแหล่งโรคอยู่ในคน พยาธิตัวเต็มวัยอาศัยอยู่บริเวณลำไส้ใหญ่ตอนปลาย
ถ้ามีพยาธิจำนวนน้อยมักไม่มีอาการหรืออาจมีอาการปวดท้อง ถ้ามีพยาธิเป็นจำนวนมาก ทำให้เกิดอาการท้องร่วงอย่างเรื้อรัง ปวดเบ่งและมีเลือดออกมาในอุจจาระ ผู้ใหญ่น้ำหนักลดลง เด็กไม่เจริญเติบโต
จากการรับประทานอาหารและดื่มน้ำที่มีการปนเปื้อนของไข่พยาธิแส้ม้าระยะติดต่อ โดยเฉพาะผักสดที่ไม่ได้ล้างน้ำทำความสะอาดก่อนนำมารับประทาน
วัฏจักรชีวิตพยาธิแส้ม้า
เมื่อคนกินไข่พยาธิแส้ม้า ลงสู่กระเพาะอาหาร พยาธิตัวอ่อนจะออกจากไข่เจริญเติบโต เป็นพยาธิตัวเต็มวัยฝังหัวอยู่ในลำไส้ใหญ่ส่วนต้น พยาธิตัวผู้และตัวเมียผสมพันธุ์กัน ตัวเมียจะออกไข่ปนออกมากับอุจจาระ เมื่ออุจจาระที่มีไข่พยาธิลงสู่พื้นดิน กลายเป็นตัวอ่อนระยะติดต่อเจริญอยู่ในไข่และปนเปื้อนเข้ามาในอาหารและน้ำดื่มได้
โดยการตรวจอุจจาระหาไข่พยาธิโดยใช้กล้องจุลทรรศน์
ลักษณะไข่พยาธิแส้ม้า
ไข่ของพยาธิแส้ม้ามีรูปร่างคล้ายถังเบียร์ มีจุกหรือปลั๊กอยู่ที่ขั้วไข่ทั้ง 2 ปลาย เปลือกมี 2 ชั้น ชั้นนอกเรียบหนา สีน้ำตาลหรือน้ำตาลปนดำ
ในรายที่ไม่ได้รับการรักษาหรือมีอาการรุนแรงจะทำให้มีอาการของลำไส้กลืนกัน หรือ มีลำไส้ส่วนปลายปลิ้นออกมา
ใช้ยาอัลเบนดาโซล (Albendazole) ขนาดยา 400 มิลลิกรัม ให้รับประทานยา 2 เม็ด หลังอาหารครั้งเดียว สำหรับผู้ป่วยที่อายุเกิน 2 ปี
ข้อห้ามใช้
การป้องกันและควบคุมโรค
ยาที่ใช้บ่อย Albendazole, albendazole