ค้นหาโรคและความเจ็บป่วย / อาการ

อ่าน: 288
Small_font Large_font

โรคซึมเศร้า (Major Depression)

คำจำกัดความ

เป็นอาการที่ผู้ป่วยรู้สึกซึมเศร้า หดหู่มากกว่าปกติ ติดต่อกันนานกว่า2สัปดาห์ ส่งผลต่อร่างกาย จิตใจ ความคิด และพฤติกรรม ทำให้เกิดปัญหาในการดำเนินชีวิตประจำวัน ผู้ป่วยอาจมีความคิดอยากตาย

อาการ

  • รู้สึกหดหู่ ไม่มีความสุข
  • หงุดหงิดง่าย
  • รู้สึกเหมือนไม่อยากทำอะไร
  • ความรู้สึกทางเพศลดลง
  • นอนไม่หลับ หรือหลับมากเกิน
  • ความอยากอาหารเปลี่ยนไป อาจจะมากขึ้นหรือลดลง แต่โดยส่วนใหญ่จะความอยากอาหารลดลงและน้ำหนักลด
  • ไม่สารมารถอยู่นิ่งๆได้
  • ความคิด การพูด การเคลื่อนไหวช้า
  • ไม่สามารถตัดสินใจได้ สมาธิลดลง
  • อ่อนเพลีย ไม่มีแรง
  • รู้สึกผิด รู้สึกว่าไร้ค่า โทษตัวเอง
  • อยากตาย หรือเคยคิดจะฆ่าตัวตาย
  • ร้องไห้โดยไม่มีเหตุผล
  • มีปัญหาทางร่างกายโดยหาสาเหตุไม่ได้

สาเหตุ

ยังไม่พบสาเหตุที่แน่ชัด แต่คาดว่าเกิดจากหลายปัจจัยเช่น

  • กลไกทางสมองเปลี่ยนแปลงไป
  • สารสื่อประสาทมีความผิดปกติ
  • ฮอร์โมนบางชนิดเปลี่ยนแปลงไป
  • พันธุกรรม
  • ชีวิตประจำวัน เช่น การสูญเสียคนที่รัก ปัญหาด้านการเงิน มีความเครียดสูง
  • อุบัติเหตุตั้งแต่เด็กๆ เช่นโดนทำร้ายร่างกาย

การวินิจฉัย

โรคซึมเศร้าส่วนใหญ่จะไม่ได้รับการวินิจฉัยแต่จะสามารถวินิจฉัยได้โดย

  • การตรวจร่างกาย
  • การตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่นการตรวจเลือด การตรวจต่อมไทรอยด์ เพื่อแยกโรคทางกาย
  • การตรวจทางจิตวิทยา เช่นพูดคุยเรื่องความคิด ความรู้สึก และพฤติกรรมว่ามีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมหรือไม่
  • เกณฑ์การวินิจฉัยโรคซึมเศร้า จะใช้ Diagnostic and Statistical Manual of Mental Disorders (DSM)ในการช่วย

วินิจฉัย
1.มีอารมณ์ซึมเศร้า ในเด็กและวัยรุ่นอาจเป็นอารมณ์หงุดหงิดก็ได้
2.ความสนใจ หรือความเพลินใจในกิจกรรมต่างๆ แทบทั้งหมด ลดลงอย่างมาก
3.น้ำหนักลดลง หรือเพิ่มขึ้นมาก (น้ำหนักเปลี่ยนแปลงมากกว่าร้อยละ 5 ต่อเดือน) หรือมีการเบื่ออาหารหรือเจริญอาหารมาก
4.นอนไม่หลับ หรือหลับมากไป
5.กระวนกระวาย อยู่ไม่สุข หรือเชื่องช้าลง
6.อ่อนเพลีย ไร้เรี่ยวแรง
7.รู้สึกตนเองไร้ค่า
8.สมาธิลดลง ใจลอย หรือลังเลใจไปหมด
9.คิดเรื่องการตาย คิดอยากตาย
  • หลักสำคัญในการวินิจฉัยโรคซึมเศร้า คือ ต้องมีอาการในข้อ 1 หรือ 2 เปนหลัก อย่างน้อย 1 ข้อ ร่วมกับอาการอื่นๆ และ ต้องมีอาการเป็นอยู่นาน 2 สัปดาห์ขึ้นไป เป็นอยู่เกือบตลอดเวลา แทบทุกวัน ไม่ใช่เป็นๆ หายๆ หรือ เป็นเพียงแค่วันสองวันหายไปแล้วกลับมาเป็นใหม่

ภาวะแทรกซ้อน

  • ติดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
  • ติดสารเสพย์ติด
  • วิตกกังวล
  • โรคหัวใจหรือโรคทางระบบอื่นๆ
  • มีปัญหาทางการทำงานหรือการเรียน
  • มีปัญหาความขัดแย้งกับครอบครัว
  • ขาดการสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่น
  • แยกตัวออกจากสังคม
  • ฆ่าตัวตาย

การรักษาและยา

การรักษามีหลายวิธีได้แก่

  • ยา ได้แก่ Selective serotonin reuptake inhibitors (SSRIs), Serotonin and norepinephrine reuptake inhibitors (SNRIs), Norepinephrine and dopamine reuptake inhibitors (NDRIs), Atypical antidepressants, Tricyclic antidepressants, Monoamine oxidase inhibitors (MAOIs)
  • จิตบำบัด (Psychotherapy) เป็นการพูดคุย ปรึกษากับจิตแพทย์เพื่อเข้าใจปัญหาที่เกิดขึ้น และแก้ปัญหานั้น
  • Electroconvulsive therapy (ECT) เป็นการวัดประมาณของสารสื่อประสาทในสมอง จะใช้วิธีนี้ต่อเมื่อใช้ยารักษาแล้วไม่ได้ผล
  • การปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตและการรักษาด้วยตนเองที่บ้าน เช่น จะต้องเคร่งครัดตามที่แพทย์สั่ง ออกกำลังกาย หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์

ยาที่เกี่ยวข้อง

ยาที่ใช้บ่อย Fluoxetine, amitryptyline, nortryptyline

แหล่งอ้างอิง

  1. Mayo Clinic staff. Depression (major depression). [Online]. 2010 Feb 11 [cited 2010 May 09];Available from: URL:http://www.mayoclinic.com/health/depression/DS00175/

DSECTION=complications



27 พฤษภาคม 2553 04 สิงหาคม 2553
เพื่อนแนะนำ : เงินด่วน 30 นาทีถูกกฎหมาย, เราชนะรอบ 4, ยืมเงิน 3000 ด่วน, แอพผ่อนของ, กู้เงิน, สมัครบัตรเครดิต, สินเชื่อไม่เช็ค บูโรถูกกฎหมาย