Dysfunctional Uterine Bleeding หรือ DUB คือ การที่มีเลือดประจำเดือนมาผิดปกติ โดยไม่ได้มีสาเหตุมาจากความผิดปกติทางกายวิภาค ดังนั้นการวินิจฉัยโรคนี้จึงต้องตรวจร่างกายเพื่อตัดสาเหตุจากความผิดปกติทางกายวิภาคในระบบอวัยวะสืบพันธุ์เพศหญิงที่ทำให้มีเลือดออกผิดปกติจากโพรงมดลูกได้ เช่น มะเร็งที่เยื่อบุโพรงมดลูกหรือเยื่อบุโพรงมดลูกฝ่อในวัยหมดประจำเดือน เป็นต้น
โรคนี้เป็นสาเหตุของอาการเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอดในผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ที่พบได้บ่อยที่สุด ถือเป็นเรื่องปกติในผู้หญิงที่เพิ่งเริ่มมีประจำเดือนใหม่ๆ และผู้หญิงวัยใกล้หมดประจำเดือน รวมทั้งอาจจะเป็นผลมาจากความเครียดหรือความเจ็บปวดก็ได้
โรค DUB แบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่ม ตามการตกไข่ คือ
โรค DUB ไม่ได้เป็นอันตรายต่อร่างกาย แต่อาจจะรู้สึกรำคาญที่ประจำเดือนมาบ่อย หรือมากกว่าปกติ
อาการของโรค DUB ประกอบด้วย
1. ประจำเดือนมาผิดปกติ : อาจมีลักษณะต่างๆ ดังนี้
2. อาการแสดงอย่างอื่นที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนเพศในร่างกาย เช่น มีขนขึ้นมากเกินไปตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย (เหมือนผู้ชาย), ร้อนวูบวาบ, อารมณ์แปรปรวน, ปวดบริเวณช่องคลอดและรู้สึกว่าช่องคลอดแห้ง
3. ถ้าเลือดประจำเดือนออกมาก ผู้ป่วยอาจมีอาการจากภาวะซีดได้ เช่น เหนื่อยง่ายกว่าปกติ, เพลีย เป็นต้น
4. ในรายที่มีเลือดออกมาก ผู้ป่วยอาจมีภาวะช็อคจากการสียเลือดได้
สาเหตุของโรค DUB ขึ้นอยู่กับชนิดของ DUB คือ
1. กลุ่มที่มีการตกไข่ตามปกติ (Ovulatory DUB) : ยังมีการตกไข่ตามปกติของรอบเดือน แต่มีความผิดปกติของการสร้างฮอร์โมนเพศหญิงโปรเจสเตอโรน (ซึ่งทำหน้าที่ทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกหลุดลอกออกมาเป็นประจำเดือนทุกเดือน) ทำให้ประจำเดือนมาผิดปกติ
2. กลุ่มที่ไม่มีการตกไข่ตามปกติของรอบเดือน (Anovulatory DUB) : เกิดจากฮอร์โมนในร่างกายที่สร้างจากสมอง, ต่อมใต้สมองและรังไข่ ซึ่งทำหน้าที่ในการควบคุมประจำเดือน ทำงานได้ไม่สมดุล ทำให้ไม่มีไข่ตกตามรอบเดือนปกติ เมื่อไม่มีไข่ตก ร่างกายจึงไม่สร้างฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (ซึ่งทำหน้าที่ทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกหลุดลอกออกมาเป็นประจำเดือนทุกเดือน) จึงทำให้มีประจำเดือนผิดปกติ
มักพบในผู้หญิงวัยเริ่มมีประจำเดือนใหม่ๆ ในช่วง 2 ปีแรก (ฮอร์โมนยังสร้างได้ไม่ปกติ) และผู้หญิงวัยใกล้หมดประจำเดือน (อวัยวะต่างๆ ทำงานสร้างฮอร์โมนได้น้อยลงและตอบสนองต่อฮอร์โมนเพศน้อยลงด้วย) นอกจากนี้การที่ไข่ไม่ตกตามปกติยังสัมพันธ์กับภาวะเครียด, การออกกำลังกายมากเกินไป, การมีน้ำหนักเปลีี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและยาบางชนิด
ประวัติ : ผู้ป่วยจะมีอาการดังที่กล่าวมาแล้ว
การตรวจร่างกาย : แพทย์จะทำการตรวจภายใน เพื่อหาความผิดปกติทางกายวิภาคของอวัยวะในระบบสืบพันธุ์เพศหญิง
การตรวจเพิ่มเติมทางห้องปฎิบัติการ : ประกอบด้วย
1. การตรวจเลือด:
2. การตรวจอัลตราซาวน์ : เพื่อดูความหนาของเยื่อบุโพรงมดลูก, ดูว่ามีถุงน้ำที่รังไข่หรือไม่ และดูความผิดปกติทางกายวิภาคอื่นในอวัยวะในระบบสืบพันธุ์ของผู้หญิง
3. การส่องกล้องเข้าไปดูภายในโพรงมดลูก
4. การขูดเอาชิ้นเนื้อจากเยื่อบุโพรงมดลูกมาตรวจ : เพื่อวินิจฉัยแยกโรคมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก มักทำในรายที่มีเลือดออกผิดปกติจกโพรงมดลูกในช่วงวัยหมดประจำเดือน เพราะมีโอกาสเป็นโรคมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกได้สูง
โรค DUB เป็นโรคที่ไม่ร้ายแรง แต่อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนดังต่อไปนี้ตามมาได้
การรักษาแบ่งเป็น
การทำให้เลือดประจำเดือนกลับมาปกติ : การรักษาขึ้นอยู่กับสาเหตุ, ความรุนแรงของเลือดที่ออกและอายุของผู้ป่วย การรักษาแบ่งได้เป็น 2 ระยะใหญ่ๆ คือ
1 ช่วงที่มีเลือดออกจากโพรงมดลูกอย่างมาก จนทำให้เกิดภาวะช็อคหรือภาวะซีด : จะต้องทำให้เลือดหยุดไหลจากโพรงมดลูกให้เร็วที่สุด ทำใด้ 2 วิธี คือ
2 กรณีที่เลือดออกจากโพรงมดลูกไม่มาก แค่มีประจำเดือนมาผิดปกติ : ในกรณีที่ยังไม่ต้องการมีบุตร จะให้การรักษาโดยการกินยาปรับฮอร์โมนเพศหญิง นานประมาณ 3 เดือน เช่น การกินยาคุมกำเนิดหรือกินฮอร์โมนเพศหญิงโปรเจสเตอโรนอย่างเดียว (Provera)
การรักษาภาวะซีด : โดยการให้เหล็กทดแทน
ในรายที่ต้องการมีบุตร : จะให้ยากระตุ้นให้ไข่ตก เพื่อให้ตั้งครรภ์ได้ง่ายขึ้น
ยาที่ใช้บ่อย Provera, Premarin, oral contraceptive pills
1. เสวก วีระเกียรติ และสฤกพรรณ วิไลลักษณ์, บรรณาธิการ. ตำรานรีเวชวิทยา. กรุงเทพฯ : บริษัทโฮลิสติก พับลิชชิ่ง จำกัด. พิมพ์ครั้งที่ 2. 2550 , 112-124.
2. ธีระพร วุฒยวนิช, บรรณาธิการ. เอนโดไครน์นรีเวช. เชียงใหม่ : วิทอินดีไซน์. 2548, 233-248.
3. ธีระ ทองสง, จตุพล ศรีสมบูรณ์ และคณะ , บรรณาธิการ. นรีเวชวิทยา ฉบับสอบบอร์ด. กรุงเทพฯ : พี.บี.ฟอเรน บุ๊คส์ เซนเตอร์. เรียบเรียงครั้งที่ 2. 2539, 437-446.
4. ยุทธพงศ์ วีระวัฒนตระกูล, พิไลวรรณ กลีบแก้ว และคณะ , บรรณาธิการ. นรีเวชวิทยา. ขอนแก่น : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2546, 73-82.