สิวเป็นความผิดปกติของหน่วยรูขุมขนและต่อมไขมัน (Pilosebacious gland) ซึ่งปกติจะอยู่ทั่วๆไปบนผิวหนังของคนเรา แต่โดยมากมันเป็นบริเวณหน้าคอ และลำตัวส่วนบน ซึ่งเป็นตำแหน่งที่มีต่อมไขมันขนาดใหญ่อยู่หนาแน่น ปกติไขมันที่สร้างจากต่อมไขมันจะออกมาตามเส้นขน หากมีการอุดตันของทางเดินของต่อมไขมันก็จะทำให้เกิดสิว สิวมีหลายชนิดที่พบบ่อยๆได้แก่ สิวธรรมดาหรือที่เรียกว่า Acne vulgalis, สิวหัวดำ, สิวที่มีการอักเสบเป็นหนอง บางรายมีตุ่มหนองด้วย
อายุที่เริ่มเป็นสิวมักอยู่ช่วงระหว่าง 12-15 ปี มักจะรุนแรงสุดในช่วงอายุ 17-21 ปี ประมาณร้อยละ 90 สิวจะเริ่มหายไปเมื่ออายุ 25 ปี ส่วนน้อยที่จะเป็นสิวไปจนถึงอายุ 45 ปี
ลักษณะทางคลินิก
ลักษณะทางคลินิกของสิว บริเวณที่เป็นสิวบ่อย คือ หน้า รองลงมา คือ คอ หลัง และอกส่วนบน แบ่งสิวได้เป็น 2 ลักษณะ คือ
ก. ชนิดไม่อักเสบ คือ สิวที่เกิดจากการอุดตันของรูขน เรียกว่า comedone มี 2 ชนิด
ข. ชนิดอักเสบ ได้แก่
เมื่อสิวหายอาจจะเหลือร่องรอยได้หลายแบบ ได้แก่ รอยแดง, รอยดำ, หลุมแผลเป็น, แผลเป็นนูน
การจัดระดับความรุนแรงของสิว
เกี่ยวข้องกับปัจจัยหลัก 5 อย่างคือ
โดยธรรมชาติของมนุษย์เมื่อช่วงเข้าสู่วัยรุ่นจะเริ่มมีการสร้างฮอร์โมนที่เรียกว่า แอนโดรเจน(Androgen) ต่อมไขมันจะเริ่มตอบสนองต่อฮอร์โมนนี้เมื่ออายุประมาณ 7-8 ปี ทำให้มีการหลั่งไขมันมากขึ้น นอกจากนี้แอนโดรเจนเองยังกระตุ้นให้มีการสร้างเซลล์ชั้นขี้ไคลของรูขุมขนได้ด้วย ทำให้เกิดลักษณะที่เรียกว่า ไมโครโคมีโดน(Microcomedone) ซึ่งเป็นต้นเหตุของสิว Microcomedone นี้อาจจะหายไปได้เองหรือพัฒนาต่อไปกลายเป็นสิวลักษณะต่างๆกันได้ ขึ้นอยู่กับปัจจัยร่วมบางอย่าง เช่น หากมีการสะสมของไขมันและเซลล์ชั้นขี้ไคลมากขึ้นเรื่อยๆ จะทำให้เกิดเป็นสิวอุดตัน (Closed Comedone) หรือ เกิดสิวหัวเปิด(Open Comedone) แต่ถ้ามีแบคทีเรีย Propionibacterium acne หรือถูกเซลล์ภูมิคุ้มกันหลั่งสารบางชนิด ก็จะทำให้เกิดการอักเสบของ Microcomedone จนกลายเป็นสิวอักเสบที่มีลักษณะ แดง นูน เป็นหนองได้
ปัจจัยที่ทำให้เกิดสิวมีปริมาณมากหรือน้อย
อาศัยจากประวัติ การตรวจร่างกายลักษณะของสิว ร่วมกับการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ซึ่งโดยทั่วไปไม่จำเป็นต้องทำการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ยกเว้นในกรณีต่อไปนี้
1. สิวในผู้ที่มีอาการแสดงของ Hyperandrogenism เช่น ผู้หญิงอ้วนที่มีขนดก ประจำเดือนผิดปกติเป็นประจำ เสียงห้าว ศีรษะล้านแบบผู้ชาย ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางนรีเวชและต่อมไร้ท่อด้วย
2. รูขุมขนอักเสบ (folliculitis) จากสาเหตุอื่น ได้แก่ การติดเชื้อแบคทีเรียกรัมลบ gram-negative folliculitis , pityrosporum folliculitisโดยทำ pus smear และย้อมพิเศษ
3.โรคอื่นที่คล้ายสิว อาจต้องตัดชิ้นเนื้อผิวหนังเพื่อส่งตรวจทางพยาธิวิทยา
สิว โดยเฉพาะสิวอักเสบเวลาหายแล้วอาจเหลือร่องรอยไว้ เช่น รอยดำและรอยแดงจากสิว แผลหลุมจากสิว แผลเป็นนูน การรักษาภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้น ประกอบด้วย
รอยดำและรอยแดงจากสิว
แผลหลุมจากสิว
แผลเป็นนูน
การรักษา หลักการรักษามีอยู่ 4 ประการ คือ
กลุ่มยารับประทาน
1. ยาในกลุ่มกรดวิตามินเอ (Isotretinoin)
มักจะใช้ในผู้ป่วยที่เป็นสิวที่รุนแรงหรือไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาอื่นๆ ห้ามใช้ในหญิงตั้งครรภ์เพราะมีโอกาสเกิดความพิการของทารกในครรภ์ได้ เมื่อให้ในผู้ป่วยหญิงวัยเจริญพันธุ์ ต้องให้คำแนะนำแก่ผู้ป่วยถึงการคุมกำเนิดอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งในขณะกินยาและหลังหยุดยาอย่างน้อย 1 เดือน ควรงดบริจาคโลหิตระหว่างการรักษาและหลังการรักษาอย่างน้อย 3 เดือน ไม่ควรใช้ในเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี เพราะมีผลต่อความสูงของเด็กได้
2. ยาในกลุ่มของฮอร์โมน หรือยาคุม จะลดความมันของหน้าได้ประมาณ 20-30% ช่วยให้สิวในผู้หญิงดีขึ้น ไม่ควรใช้ในเด็ก, ในรายที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดลิ่มเลือดในหลอดเลือดและหัวใจ และในผู้ที่มีประวัติเสี่ยงต่อมะเร็งเต้านม นอกจากนั้นยาอาจจะมีผลต่อเรื่องน้ำหนักตัว ความดันโลหิตสูง กระตุ้นอาการปวดศีรษะไมเกรนได้ และเพิ่มการแข็งตัวของเลือด
3. ยากลุ่มยาปฏิชีวนะ ซึ่งมีใช้หลายตัว เช่น Tetracyclin, Doxycycline, Erythromycin การกินยาปฏิชีวนะนานๆ อาจจะมีผลต่อการเกิดเชื้อราในช่องคลอดได้ยารับประทานทุกตัวไม่ควรหาซื้อกินเอง ควรปรึกษาแพทย์โรคผิวหนังก่อนเสมอ เพื่อทราบถึงผลข้างเคียงและข้อควรระวังในการใช้ยา
กลุ่มยาทา
1. ยาทาในกลุ่มวิตามินเอและอนุพันธ์ของวิตามินเอ เช่น Tretinoin, Adapalene,Tazarotene ได้ผลดีโดยเฉพาะสิวอุดตัน และยังใช้เป็นตัวป้องกันไม่ให้สิวเกิดขึ้นใหม่หรือน้อยลงได้ในระยะยาว แต่ยามีฤทธิ์ระคายเคืองได้บ้าง โดยเฉพาะเมื่อเริ่มต้นใช้ในระยะแรกๆ
2. ยาทาในกลุ่มยาปฏิชีวนะ เช่น 1% Clindamycin, Erythromycin, Metronidazole ซึ่งจะให้ผลในการลดจำนวนแบคทีเรียที่ก่อสิวอักเสบไม่ควรใช้ยากลุ่มนี้อย่างเดียวเพราะทำให้สิวดื้อยาได้
3. ยาทากลุ่ม Benzyl peroxide มีฤทธิ์ในการลดจำนวนแบคทีเรียและลดการอักเสบของสิวแต่ยามีฤทธิ์ระคายเคืองได้บ้าง และกัดสีเสื้อผ้าได้ ระวังไม่ทำยาเลอะเสื้อผ้า โดยเฉพาะเสื้อผ้าสีเข้ม
4. Azeliaic acid ฆ่าแบคทีเรียที่ก่อสิวและลดจำนวน Comedone ได้
กลุ่มยาฉีด
การฉีด steroid เข้าใต้หัวสิว เช่น การฉีดสเตียรอยด์ปริมาณน้อยๆ ที่สิวอักเสบจะลดการอักเสบที่สิวได้เร็ว แต่ถ้าฉีดมากไปหรือลึกเกินไปจะทำให้ผิวหนังบริเวณที่ฉีดเกิดรอยบุ๋ม
กลุ่มอื่นๆ
Laser and light therapy : เป็นการรักษาที่ลงลึกไปถึงผิวหนังชั้นล่างโดยปราศจากการทำลายผิวด้านบน การใช้ laser จะทำลายต่อมไขมัน ส่วนการใช้ light จะช่วยทำลายแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของการอักเสบ นอกจากนี้ยังช่วยลบเลือนรอยแผลเป็นอีกด้วย แต่การรักษาด้วยวิธีนี้อาจทำให้ใบหน้ามีปัญหาคล้ายกับโดนแดดแผดเผา
วิธีป้องกัน ง่ายๆ คือ การกำจัดปัจจัยที่ก่อให้เกิดสิว ไม่ให้มันกำเริบ โดยมีข้อแนะนำต่างๆ ดังนี้
ยาที่ใช้บ่อย Tetracyclin, Doxycycline, Erythromycin, Tretinoin, Benzyl peroxide
1.อภิชาติ ศิวยาธร, กนกวลัย กุลทนันทน์ บรรณาธิการ. โรคผิวหนังต้องรู้ : สำหรับเวชปฏิบัติทั่วไป. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน. 2545, 171-176.
2.ปรียา กุลละวณิชย์, ประวิตร พิศาลบุตร บรรณาธิการ. ตำราโรคผิวหนังในเวชปฏิบัติปัจจุบัน Dermatology 2010 พิมพ์ครั้งที่ 1 กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ โฮลิสติก พับลิชชิ่ง. 2548, 56-69.