อาการปวดแน่นท้อง (Dypepsia) คือ ภาวะท้องอืดเฟ้อ หรือปวดแน่นท้องบริเวณลิ้นปี่ เหนือสะดือ มีอาการปวดต่อเนื่องเป็นเวลานานกว่า 3 เดือน และอาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน อิ่มเร็ว กลืนติด เรอแสบยอดอก มีอาการไม่สบายในช่องอกร่วมด้วย
วิธีปฏิบัติตนเพื่อป้องกันอาการปวดแน่นท้อง
- รับประทานอาหารมื้อละน้อยๆ แต่บ่อยครั้ง
- ควรเคี้ยวอาหารให้ละเอียดก่อนกลืน
- รับประทานอาหารที่เป็นน้ำๆ เช่น ข้าวต้ม โจ๊ก หรือก๋วยเตี๋ยวน้ำ
- หลีกเลี่ยงอาหารที่ทำให้เกิดก๊าซ เช่น พืชตระกูลถั่ว ดอกกะหล่ำ หัวผักกาด หัวหอม ฝรั่ง แตงโม บรอคโคลี่ มัน ขนุน เผือก หรือหัวกะหล่ำปลี เป็นต้น
- ไม่รับประทานผักสดหรือผลไม้สดครั้งละมากๆ
- ควรหลีกเลี่ยงพวกอาหารมันๆ หรือที่มีไขมันมากๆ เช่น กะทิ น้ำมันสัตว์ เนย
- ไม่ควรดื่มน้ำผลไม้จำพวกน้ำแอ๊ปเปิ้ล น้ำลูกพรุน น้ำสับปะรด น้ำอัดลม นมสด นมเปรี้ยว น้ำชา กาแฟ เหล้า เบียร์
- หลีกเลี่ยงการเคี้ยวหมากฝรั่ง หมากหรือลูกอม งดสูบบุหรี่ เพราะจะทำให้กลืนอากาศลงไปด้วย
- หลังรับประทานอาหารอิ่มใหม่ๆ ไม่ควรนอนเอกเขนก ควรมีการเคลื่อนไหวบ้างสักครู่ เช่น เดินเล่น
- รับประทานยาตามคำแนะนำของแพทย์และมาตรวจตามนัดทุกครั้ง
- ไม่ควรซื้อยาแก้ปวดเข่า ข้อ หรือยาคลายกล้ามเนื้อมารับประทานเอง
- ห้ามรับประทานอาหารทะเลโดยเฉพาะกุ้ง ปู หอย ปลาหมึก ในปริมาณมากเกินไป
- ควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
- หลีกเลี่ยงสิ่งที่ทำให้เกิดความเครียด ควรทำจิตใจให้ร่าเริง เบิกบาน
- มีกิจกรรมสันทนาการ เพื่อให้เกิดความเพลิดเพลิน
ที่มา: แผ่นพับจากหน่วยทางเดินอาหาร ภาควิชาอายุรศาสตร์ โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์