วันหนึ่งคอนแทคเลนส์อาจใช้ช่วยในการดูแลโรคเบาหวานได้ เมื่อนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยออนตาริโอ ได้พัฒนาเลนสืชนิดใหม่ ที่สามารถตรวจจับปริมาณน้ำตาลในเลือดโดยการเปลี่ยนสี
นวัตกรรมใหม่นี้ อาจใช้แทนที่การตรวจเช็คปริมาณน้ำตาลในเลือดแบบเดิม ๆ ในปัจจุบัน ออกแบบโดยนักวิศกรเคมี และวิศวกรชีวภาพ ศ.จิง ชาง โดยใช้อนุภาคนาโนฝังเข้าไปในไฮโดรเจล เลนส์ โดยอนุภาคนาโนนี้จะทำปฏิกิริยาต่อโมเลกุลกลูโคสในน้ำตา ด้วยการเปลี่ยนสีเลนส์ ขณะนี้ ศ.ชาง กำลังทำการศึกษาเพิ่มเติม เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีอนุภาคนาโนนี้สามารถนำมาใช้ได้หลากหลายมากยิ่งขึ้น
อนุภาคนาโนสามารถที่จะนำไปพัฒนาได้มากกว่าเครื่องมือทางการแพทย์ ซึ่งอาจรวมไปถึงบรรจุภัณฑ์อาหารต่าง ๆ ยกตัวอย่างเช่น ฟิลม์นาโน ที่สามารถป้องกันการเน่าเสียของอาหาร ด้วยการป้องกันอ๊อกซิเจน คาร์บอนไดออกไซด์ และ ความชื้น ในอาหารสดต่าง ๆ หรือคำนวนหาจุลินทรีย์ที่อาจปนเปื้อนในอาหาร
ที่มา dnaindia