1. ถาม เครื่องหมายรับรอง “อาหารเพิ่มสารอาหาร” (Nutrition Seal) คืออะไร ?
ตอบ คือ เครื่องหมายหรือสัญลักษณ์ที่ใช้แสดงที่ภาชนะบรรจุผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อบ่งบอกว่าเป็นผลิตภัณฑ์อาหารที่มีการเพิ่มสารอาหารชนิดที่กรมอนามัยกำหนด ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภคโดย
กรมอนามัย รับผิดชอบดูแลมาตรฐานการเพิ่มสารอาหาร
2. ถาม ทำไมต้องมีเครื่องหมายนี้ ?
ตอบ เพื่อใช้สื่อสารให้ผู้บริโภคทราบว่าผลิตภัณฑ์อาหารที่มีเครื่องหมายนี้ มีการเพิ่มชนิดของสารอาหารที่มีความเสี่ยงสูงต่อการขาด ในประชากรไทย และเป็นปัญหาสาธารณสุขอยู่ในขณะนี้ เช่น ภาวะขาดธาตุเหล็ก ไอโอดีน และวิตามินเอ เป็นต้น
3. ถาม เครื่องหมายนี้มีประโยชน์อย่างไร ?
ตอบ ให้ประโยชน์ต่อบุคคล 3 กลุ่ม
- กลุ่มผู้บริโภค ทำให้ผู้บริโภคเลือกซื้อผลิตภัณฑ์อาหารที่ให้ประโยชน์ต่อร่างกายได้ถูกต้องคุ้มค่าเงิน แล้วเกิดผลดีต่อสุขภาพ
- กลุ่มผู้ประกอบการ เครื่องหมายนี้ให้เป็นแรงจูงใจให้ผู้ประกอบการให้เป็นสื่อโฆษณาผลิตภัณฑ์ของตัวเองได้ว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีประโยชน์
- ภาครัฐ โดยกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ได้แสดงบาทในการควบคุมและป้องกันภาวะขาดสารอาหารและส่งเสริมให้ประชาชนไทยมีภาวะโภชนาการและสุขภาพที่ดี
4. ถาม มีผลิตภัณฑ์อาหารใดบ้างที่เข้าร่วมโครงการนี้ได้ ?
ตอบ น้ำปลา ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมทารกบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป นมข้นหวาน เกลือบริโภคแป้งสาลี น้ำมันพืช หรือผลิตภัณฑ์อาหารชนิดอื่นที่ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการโดยคำนึงถึงความเหมาะสมและประโยชน์สูงสุดที่ประชากรกลุ่มเป้าหมายได้รับ
5. ถาม ถ้าสนใจอยากเข้าร่วมโครงการจะทำอย่างไร ?
ตอบ 1. ผู้ประกอบการที่มีความประสงค์ขอรับเครื่องหมายรับรอง ปรึกษาด้านวิชาการและเทคโนโลยีการเพิ่มสารอาหารกับสถาบันวิจัยโภชนาการมหาวิทยาลัยมหิดล แล้วทดลองเพิ่มสารอาหารนั้นๆ ในผลิตภัณฑ์อาหาร ทำการสุ่มตรวจวิเคราะห์ปริมาณสารอาหาร ที่เพิ่มจนมีคุณภาพตามต้องการ
2. กรอกแบบฟอร์มใบสมัครขอรับเครื่องหมายรับรองกองโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารสุข โทร. 02-5904306
3. กองโภชนาการ กรมอนามัย สุ่มตัวอย่างอาหารที่ได้รับการเพิ่มสารอาหารแล้วส่งวิเคราะห์เฉพาะปริมาณสารอาหาร ที่ให้เพิ่ม หรือ Key Fortificant โดยใช้ห้องปฏิบัติการของสถาบันวิจัยโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล หรือห้องปฏิบัติการอื่น ตามความจำเป็น
4. ผลวิเคราะห์เป็นไปตามหลักเกณฑ์กรมอนามัยจะมอบใบประกาศเกียรติคุณ และมอบเครื่องหมายรับรอง “อาหารเพิ่มสารอาหาร” (Nutrition Seal) ไว้ใช้แสดงที่ผลิตภัณฑ์
5. กรณีผลวิเคราะห์ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ให้ปรึกษด้านเทคโนโลยีกับทางสถาบันวิจัยโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล
ที่มา
กองโภชนาการ
กรมอนามัย