การที่เด็กเกิดมาครบสามสิบสองประการแล้วนั้น ถือเป็นความโล่งอกของบรรดาผู้ปกครองในเบื้องต้น แต่ถ้าเด็กทารกที่เกิดมามีขนาดศีรษะเล็กกว่าปกติ อาจทำให้ผู้ปกครองต้องเอาใจใส่เพิ่มมากขึ้นกว่าเดิม
Health รายงานว่า นักวิจัยจากสถาบันAmerican Academy of Neurology and the Child Neurology Society ได้เสนองานวิจัยชิ้นใหม่เกี่ยวกับขนาดศีรษะที่มีผลต่อการทำงานของสมองว่า ขนาดศีรษะที่เล็กกว่าปกติอาจเกิดปัญหาเกี่ยวกับการทำงานของระบบประสาทและกระบวนการรับรู้ โดยเฉลี่ยหลังจากเกิดได้ 2 ปี เด็กอาจจะเกิดภาวะ microcephaly หรือ การเจริญเติบโตของสมองช้า ซึ่งมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคลมบ้าหมู สูญเสียความสามารถในการควมคุมการเคลื่อนไหวร่างกายบางส่วน ความสามารถในการรับรู้และเรียนรู้ช้า และปัญหาเกี่ยวกับการรับรู้ทางการมองเห็นและการได้ยินดังนั้นผู้ปกครองที่ของทารกเกิดภาวะ microcephaly จึงควรให้แพทย์ทำการสแกนสมองเพื่อหาสาเหตุที่แท้จริงของปัญหา
อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่เด็กทุกคนที่มีขนาดศีรษะเล็กจะเกิดปัญหานี้ มีเพียงบางส่วนเท่านั้นที่มีความเสี่ยง ซึ่งก็อาจมีสาเหตุทางพันธุกรรมอื่นๆเกี่ยวข้องอีกก็เป็นได้
ไม่ว่าศีรษะเล็กหรือใหญ่ การเอาใจใส่พัฒนาการของเด็กอยู่เสมอ ย่อมช่วยให้เขาเติบโตขึ้นมาได้อย่างมีประสิทธิภาพ